กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศรายงานว่า แนวโน้มตลาดเนื้อสัตว์แช่เย็นของเวียดนามว่า มูลค่าตลาดเนื้อสัตว์ของเวียดนาม ในช่วงปี 2561 – 2566 มีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น Compound Annual Growth (CAGR) อยู่ที่ 4.4% ขับเคลื่อนโดยเนื้อวัว เนื้อแพะ และเนื้อไก่เป็นหลัก เนื่องจากการตระหนักถึงเรื่องสุขภาพ และกระแสการออกกำลังกายและจำกัดการรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงที่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วงปี 2567 – 2571 เชื่อว่าตลาดเนื้อวัวและเนื้อแพะจะยังมีบทบาทสำคัญเมื่อมีการบริโภคต่อหัวไม่สูงนัก ประกอบกับการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากประเทศที่มีวัฒนธรรมการกินเนื้อสัตว์ทั้ง 2 ประเภทนี้มากขึ้น
ขณะเดียวกัน เนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์ปีกก็ได้เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวในด้านการบริโภคต่อหัวเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมการประกอบอาหารที่คล้ายคลึงกัน เช่น จีน ไทย ฟิลิปปินส์ ลาว และกัมพูชา
ขณะเดียวกัน เนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์ปีกก็ได้เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวในด้านการบริโภคต่อหัวเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมการประกอบอาหารที่คล้ายคลึงกัน เช่น จีน ไทย ฟิลิปปินส์ ลาว และกัมพูชา
ขณะที่ ผู้บริโภคมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าเนื้อสัตว์แช่เย็นมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า และมีแหล่งที่มาที่ชัดเจนกว่าเนื้อสัตว์แบบสดแต่ตลาดเนื้อสัตว์แช่เย็นยังคงเผชิญกับอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของตลาด ได้แก่
นอกจากนี้ จะมีการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดเนื้อสัตว์แช่เย็น ในขณะที่มีสัดส่วนในส่วนแบ่งตลาดไม่มากพอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยประสบภาวะรายได้ต่ำและกำไรน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นักลงทุนยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาส่วนแบ่งการตลาดของระบบซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตเนื้อสัตว์แช่เย็น เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้แบรนด์ของเนื้อสัตว์แช่เย็นที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งจะเป็นแบรนด์ที่ผลิตโดยบริษัทในเครือของซูเปอร์มาร์เก็ตเท่านั้น
ขณะที่ ปัจจุบันผู้บริโภคเวียดนามมีความนิยมผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่เย็นมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เนื่องจากไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ที่มีความตระหนักถึงสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ความนิยมนี้ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแช่เย็น/แช่แข็งในเวียดนาม ผู้ประกอบการจำนวนมากต่างมุ่งเน้นไปที่การผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่เย็นคุณภาพสูง เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นำเข้าและหรือจากซัพพลายเออร์ที่มีชื่อเสียงในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคเวียดนามมีแนวโน้มที่จะเลือกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากคุณภาพและความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ จากสถิติของ Global Trade Atlas พบว่า ในปี 2566 เวียดนามนำเข้าเนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้ มูลค่า 1,727.93 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่
สำหรับแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และบราซิล โดยเวียดนามใช้จ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ดังนั้นการควบคุมแหล่งวัตถุดิบ และรับรองสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารของผลิตภัณฑ์นำเข้าจึงมีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งในด้านการบริโภคเนื้อหมู ในบรรดา 10 ประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 6 โดยมีอัตราส่วนการบริโภคเนื้อหมูอยู่ที่ 105.4% การผลิตเนื้อหมูในประเทศตอบสนองความต้องการการบริโภคเนื้อหมูได้เพียง 95% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนามคาดว่า ในปี 2568 การบริโภคเนื้อหมูจะลดลง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าเนื้อหมูยังเป็นเนื้อสัตว์หลักที่บริโภค แต่ผู้บริโภคก็เปลี่ยนมาใช้แหล่งโปรตีนจากสัตว์อื่น ๆ มากขึ้น เช่น เนื้อวัว สัตว์ปีก และอาหารทะเล โดยการส่งออกสัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์แช่เย็นและแช่แข็งไปยังเวียดนามจะต้องได้รับใบอนุญาตของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนามก่อนการนำเข้า
ปัจจุบันไทยสามารถส่งออกไปยังเวียดนามได้เฉพาะสัตว์มีชีวิต ได้แก่ โค และกระบือ และอาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็ง เท่านั้น และเพื่อต้องการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปยังต่างประเทศ ผู้ประกอบการต้องผ่านการขึ้นทะเบียนโรงงานกับกรมปศุสัตว์ อยากแนะนำให้ผู้ประกอบการศึกษาข้อมูลแนวโน้มการบริโภคและโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศเวียดนามเพิ่ม