พาณิชย์ เร่งฟื้นสิทธิ GSP สหรัฐฯ หนุนส่งออกสินค้าไทย

15 ธ.ค. 2567 | 01:31 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ธ.ค. 2567 | 02:40 น.

“พิชัย” รมว.พาณิชย์ เดินหน้าปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา เล็งหลุดออกจาก Watch List เตรียมเจรจาฟื้นสิทธิ GSP สหรัฐฯ สร้างแต้มต่อให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะ SMEs ปัจจุบันสินค้าที่ได้สิทธิ GSP ประมาณ 2,660 รายการ ปี 67 (ม.ค. – ก.ย.) ส่งออกมูลค่า 2,292.63 ล้านดอลลาร์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การที่สหรัฐฯ มีแนวโน้มจะปลดไทยจาก Watch List ด้านทรัพย์สินทางปัญญาละอาจต่อสิทธิ GSP ให้ไทยนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์ นำโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองและปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง จัดทำแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP WoPlan) ร่วมกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR)
 

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


ทั้งนี้ แผนงานมีประเด็นสำคัญเรื่อง ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร รวมทั้งการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นรูปธรรม หากไทยสามารถดำเนินการตามแผนงานฯ และสามารถหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List) จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ไทยว่ามีระบบนิเวศศด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการปกป้องและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สร้างสภาพแาดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา และต่อยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูการค้าการลงทุนจากต่างชาติได้

ขณะเดียวกัน หากทางสหรัฐฯ ต่อสิทธิ GSP ให้ไทย จะส่งผลดีต่อการค้าไทยอย่างมาก ซึ่งจะสร้างแต้มต่อให้ผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs เนื่องจากสินค้าส่งออกภายใต้โครงการ GSP ได้รับยกเว้นอากรขาทำให้ราคาถูกลง สามารถแข่งขันต้านราคาและได้เปรียบกว่าเมือบกับสินสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิ GSP ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ ที่ต้องการแสวงหาวัดดิบในราคาที่แข่งขันได้ ผู้ประกอบการไทยจึงมีโอกาสเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ ได้มากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลการใช้สิทธิ GSP ส่งออกไปสหรัฐฯ ไทยมีสินค้าที่ได้สิทธิ GSP ประมาณ 2,660 รายการ มีการใช้สิทธิฯ จริง 579 รายการ โดยปี 2567 (ช่วงมกราคม – กันยายน) ไทยมีการส่งออกที่ขอใช้สิทธิฯ มูลค่า 2,292.63 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 55.32% ของมูลค่าส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP และมีสินค้าที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการต่ออายุโครงการ GSP ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้สิทธิสูงต่อเนื่อง อาทิ อาหารปรุงแต่ง (อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป) ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ กระเป๋า/หีบเดินทางขนาดใหญ่ กรดมะนาว/กรดซิทริก ถุงมือย่าง เลนส์แว่นตา และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ทั้งนี้ สินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP หลายรายการ เป็นสินค้ากลางน้ำ ซึ่งสหรัฐฯ นำไปเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย เช่น กรดซิทริกใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ชิ้นส่วนครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเลนส์แว่นตา เป็นต้น ดังนั้น การต่ออายุ GSP ให้ไทย จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าและเพิ่มแหล่งทางเลือกวัตถุดิบให้ผู้ประกอบการสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้ผลักดันประเด็นการต่ออายุโครงการ GSP หารือในหลายโอกาส ทั้งหารือกับอัครราชทตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (Mr. Robert F. Godec) และของสหรัฐฯ อาทิ คณะนักธุรกิจสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (USABC) นอกจากนี้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ติดตามความคืบหน้าและเข้าพบผแทนรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อผลักดันเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด