ไทยรับอานิสงส์ ทุเรียนเวียดนามมีปัญหาตลาดจีน-ยุโรป

04 ม.ค. 2568 | 06:51 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ม.ค. 2568 | 06:52 น.

ทูตเกษตร ประจำกรุงปักกิ่ง ส่องตลาดทุเรียนเวียดนาม ปี 2568 พบไทยรับอานิสงส์ จากทุเรียนเวียดนาม ในตลาดจีน ปัญหาสวมสิทธิเพียบ มีแอบอ้างรหัสโรงงาน พบการปนเปื้อนสารแคดเมียมทำให้โดนแบน ลามธุรกิจเจ๊ง ส่งออกไม่ได้ ส่วนตลาดยุโรป พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่ง  รายงานสถานการณ์ทุเรียนเวียดนาม ในตลาดจีน โดยอ้างอิง จากรายงานของสมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (Vinafruit) กล่าวว่ามีกลุ่มอาชญากรปลอมแปลงรหัสพื้นที่ปลูกและโรงโรงคัดบรรจุทุเรียนเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เลขาธิการสมาคมฯ กล่าวว่า สมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ส่งออกหลายรายเกี่ยวกับการฉ้อโกงดังกล่าว ตัวอย่างเช่น รหัสโรงงานบรรจุภัณฑ์ (VN-BTPH-036) ของ Vina T&T หนึ่งในบริษัทส่งออกผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ถูกแอบอ้างเพื่อส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนอย่างผิดกฎหมาย

ไทยรับอานิสงส์ ทุเรียนเวียดนามมีปัญหาตลาดจีน-ยุโรป

ไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงลายเซ็น ปลอมแปลงตราประทับขององค์กร ดังนั้น จึงมีทุเรียนจำนวนจากเวียดนาม ผ่านศุลกากรและเข้าสู่ประเทศจีนอย่างผิดกฎหมายผู้ประกอบการทุเรียนเวียดนามหลายรายได้รับผลกระทบ เพราะที่ผ่านมา ทุเรียนบางส่วนที่ถูกแอบอ้างอย่างผิดกฎหมาย พบการปนเปื้อนสารแคดเมียมโลหะหนัก ศุลกากรจีนจึงเพิกถอนรหัสพื้นที่ปลูกบางส่วน ธุรกิจเหล่านี้จึงประสบกับปัญหาการไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ และขาดทุนเป็นอย่างมาก จากสถานการณ์ดังกล่าวสมาคมผักและผลไม้เวียดนามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลเวียดนามเพิ่มการตรวจสอบและกำกับดูแลและจัดการกับการกรกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง

 

ปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ 154,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 962,500 ไร่) ผลผลิตต์ตปีเกือบ 1.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 15%ต่อปี และคาดว่าในปี 2567 เวียดนามจะมีมูลค่าการส่งออกทุเรียนสูงถึงถึง 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 40% จากปี 2566 ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามความสามารถในการบุกเข้าตลาดจีน อาทิ เนื้อทุเรียนแช่แข็ง และทุเรียนบด

ส่วน “ตลาดยุโรป” เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2024 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศสืบเนื่องจาก ทุเรียนส่งออกของเวียดนามไม่เป็นไปตามข้อกำหนดระดับสารเคมีตกค้างของสหภาพยุโรป โดยประกาศหมายเลข 2019/1793 ระเบียบข้อ 5 และ 6 เพิ่ม สัดส่วนการสุ่มตรวจชายแดนจาก 10% เป็น 20% นอกจากทุเรียน เวียดนามยังส่งออกแก้วมังกร พริก กระเจี๊ยบ ไปสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนการสุ่มตรวจ 30%  50% และ 50% ตามลำดับ และเมื่อส่งอออกสินค้าทั้ง 3 ชนิดไปยังสหภาพยุโรป จะต้องแนบผลการตรวจวิเคราะห์ สารเคมีตกค้างด้วยทุกครั้ง

 

นายอู๋ซุนหนาน รองผู้อำนวยการสำนักงานประกาศและให้คำปรึกษาด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์แห่งชาติเวียดนาม (สำนักงาน SPS) กล่าวว่าสารกำจัดศัตศัตรูพืชที่ใช้กับทุเรียน มีปริมาณสารตกค้างสูง อาทิ polybacterin, fipronil, pyrimide, enamylmorphine, methrin, cyhalothrin, และ acetaprid เป็นต้น สหภาพยุโรปกำหนดระดับสารตกค้างสูงสุด (MRL) ของสารกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้อยู่ที่ 0.005-0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ทุเรียนเวียดนามที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีระดับสารตกค้างสูงถึง 0.021-6.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมซึ่งเกินกว่าค่าที่กำหนดหลายเท่า

ทางสหภาพยุโปทบทวนการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของอาหารจากผู้นำเข้าเข้าเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อปรับความถี่ในการสุ่มตรวจสอบสินค้าบริเวณชายแดน ขณะนี้ทุเรียนเวียดนาม อยู่ในรายการสินค้านำเข้าภาคผนวก 1 ของสหภาพยุโรป ซึ่งหมายความว่า เวียดนามยังไม่ต้องแสดงใบรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร และมีสัดส่วนการสุ่มตรวจชายแดนอยู่ที่ 2096 เพราะเมื่อหากเวียดนามถูกรวมอยู่ในภาคผนวก 2 แล้วนั้นจะต้องมีใบรับรองฯ จากกรมคุ้มครองพืช ของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนามทุกครั้งในการส่งออกไปสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับ แก้วมังกร พริก กระเจี๊ยบ ที่กล่าวถึงข้างต้น