"ทุเรียนไทย"ระทึก จีนสั่งแจงปนเปื้อนแคดเมียม หวั่นโดนแบนทุบส่งออกแสนล้าน

29 ส.ค. 2567 | 06:54 น.
อัพเดตล่าสุด :29 ส.ค. 2567 | 11:04 น.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เต้นสั่งประชุมล้งด่วน หลัง “GACC” เรียกแจง"ทุเรียนไทย" ปนเปื้อนแคดเมียม หวั่นโดนแบนทุบส่งออกแสนล้าน สัปดาห์หน้า พร้อมออก 10 มาตรการเข้มส่งออกไปจีน 15 วัน ระหว่างวันที่ 2-16 ก.ย. นี้ เพื่อติดตาม ค้นหาสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่

แหล่งข่าวกรมวิชาการเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ (29 ส.ค.67) มีการประชุมเรื่องแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนส่งออกไปจีน โดย นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีการรายงานการแจ้งเตือนการตรวจพบการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนสดส่งออกไปจีนปี 2567  ได้แก่  1. หนังสือแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่ง (สปษ. ปักกิ่ง)  ฉบับลงวันที่ 11 มีนาคม 2567 ตรวจพบแคดเมียมในทุเรียนสด 0.085 mg/kg เกินค่ามาตรฐานของจีน หรือ สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of China Customs: GACC) ที่ 0.05 mg/kg จากผู้ส่งออก จำนวน 1 ราย โรงคัดบรรจุ จำนวน 1 โรง และสวน จำนวน 1 แปลง

\"ทุเรียนไทย\"ระทึก จีนสั่งแจงปนเปื้อนแคดเมียม หวั่นโดนแบนทุบส่งออกแสนล้าน

2. หนังสือแจ้งจาก สปษ. ปักกิ่ง ฉบับลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ตรวจพบแคดเมียมในทุเรียนสดเกินค่ามาตรฐานของจีน 0.05 me/kg จากผู้ส่งออก จำนวน 1 ราย โรงคัดบรรจุ จำนวน 1 โรง และสวนจำนวน 1 แปลง

3. หนังสือแจ้งจาก สปษ. ปักกิ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ตรวจพบแคดเมียมในทุเรียนสด 0.314, 0.158 และ 0.123 mg/kg เกินค่ามาตรฐานของจีน 0.05 me/kg จากผู้ส่งออก จำนวน 3 ราย โรงคัดบรรจุ จำนวน 3 โรง และสวน จำนวน 3 แปลง จีนขอให้ระงับ PC สำหรับสวนและโรงคัดบรรจุเป็นการชั่วคราว

4. หนังสือแจ้งจากสปษ. ปักกิ่ง ฉบับลงวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ตรวจพบแคดเมียมในทุเรียนสด 0.0525, 0.0586, 0.148, 0.226, 0.0796,0788, 0.109, 0.164 และ 0.124 mg/kg เกินค่ามาตรฐานของจีน 0.05 mg/kg จากผู้ส่งออก จำนวน 6 ราย โรงคัดบรรจุ จำนวน 7 โรง และสวน จำนวน 9 แปลง จีนขอให้ระงับ PC สำหรับสวนและโรงคัดบรรจุเป็นการชั่วคราว และ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการระงับทะเบียนผู้ส่งออกทุเรียน (ทะเบียน DU) ทั้ง 6 ราย

5. หนังสือแจ้งจาก สปษ.ปักกิ่ง ฉบับลงวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ตรวจพบแคดเมียนในทุเรียนสดเกินค่ามาตรฐานของจีน 0.05 mg/kg จากผู้ส่งออก จำนวน 1 ราย โรงคัดบรรจุจำนวน 1 โรง และสวน จำนวน 1 แปลง จีนขอให้ระงับ PC สำหรับสวนและโรงคัดบรรจุเป็นการชั่วคราวและกรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างดำเนินการระงับทะเบียนผู้ส่งออก และล่าสุด วันนี้ก็ได้รับแจ้งเตือนอีก สปษ.ปักกิ่งจีนตรวจพบอีก นั่นหมายความว่าปัจจุบันนี้จีนแจ้งเตือนไทยไปแล้ว 6 ครั้ง จาก 16 ชิ๊บเมนท์ ต่อไปก็ยังไม่แน่ใจว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จีนจะยกระดับมาตรการอะไรออกมาจากไทยเพิ่มเติมอีก

“ปัจจุบันเวียดนามที่ส่งออกไปจีนแล้วโดนมีแคดเมียมปนเปื้อนจีนได้สั่งระงับแล้วทั้งสวนและล้งของเวียดนาม และออกมาตรการสินค้าทุเรียนที่จะส่งไปทุกชิ๊บเมนต์ไปจีนจะต้องมีผลทดสอบด้วย ดังนั้นจีนมีความกังวลในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จะขอพบอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้พูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและขอให้ไทยตรวจสอบแคดเมียมในทุเรียนส่งออก แต่จีนก็ไม่ได้ตัดข้อกังวลในเรื่องการทุเรียนสวมสิทธิ์มาจากเวียดนามหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการหาทางออกร่วมกัน”

กรมวิชาการเกษตร เมื่อได้รับการแจ้งเตือนจากจีน ก็ได้ลงพื้นที่ดำเนินการทวนสอบสาเหตุและข้อเท็จจริงของการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตตั้งแต่แปลง โรงคัดบรรจุ และการส่งออก ในส่วนของแปลงเกษตรที่พบปัญหาซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดชุมพร จันทบุรี และยะลา นั้น ได้สุ่มตัวอย่างผลผลิต (ผลทุเรียนหรือใบ) ดินและน้ำ ไปทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติการกลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้า กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาวิจัยปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

“สรุปผลการทดสอบการปนเปื้อนแคดเมียมในตัวอย่าง ทุเรียน ดินและน้ำที่สุ่มเก็บจากแปลงเกษตรกรที่ถูกแจ้งเดือนปัญหาจากจีน 5 รายการ มีทั้งพบ และไม่พบ และที่พบก็ไม่เกินมาตรฐานจีนที่กำหนด (มาตรฐานจีนการปนเปื้อนแคดเมียมในผลไม้สด (เนื้อทุเรียน) อ้างอิงตามมาตรฐาน GB 2762-2022 ไม่เกิน 0.05 mg/kg,ในคุณภาพดินอ้างอิงตามมาตรฐาน GB 15618-2018 ไม่เกิน 1.5-4 mg/kg ในคุณภาพน้ำอ้างอิงตามมาตรฐาน GB 3838-2002 ไม่เกิน 0.01 mg/L)

\"ทุเรียนไทย\"ระทึก จีนสั่งแจงปนเปื้อนแคดเมียม หวั่นโดนแบนทุบส่งออกแสนล้าน

อย่างไรก็ดีสำหรับแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการตรวจพบการบเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนส่งออกไปจีนกรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการตรวจติดตามเพื่อศึกษาและค้นหาสาเหตุการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนไทยมีความเสี่ยงการปนเปื้อนแคดเมียมในกระบวนการผลิตหรือไม่? ซึ่งจะดำเนินการ ดังนี้

  • 1.เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชจะทำการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน ณ วันที่เจ้าหน้าที่ด่านเข้าสุ่มตรวจศัตรูพืชก่อนส่งออก จำนวน 5 ลูกและบรรจุลงกล่องปิดสนิท
  • 2. ในพื้นที่จังหวัดชุมพรให้ผู้ประกอบการนำกล่องหัวอย่าง จากข้อ 1 ไปรวม จุดรวม จุดรวดรวมรวมเตียวที่ตลาดมรกต ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาบริการรับตัวอย่าง เวลา 9.00-12.00 น.
  • 3. ค่าใช้จ่ายค่าทดสอบและค่าขนส่งตัวอย่างละ 1,200 บาท
  • 4. ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ให้ผู้ประกอบการนำกล่องตัวอย่าง จากข้อ 1 ไป ส่งตัวอย่างห้องปฏิบัติการเอง เช่น รถตู้สาธารณะหรือบริษัทขนส่งอื่นๆ
  • 5. ค่าใช้จ่ายค่าทดสอบตัวอย่างละ 800 บาท
  • 6. ตรวจวิเคราะห์หาสารแคดเมียมหลังจากได้รับตัวอย่างพร้อมออกใบรายงานผลการทดสอบภายใน 72 ชม. (3 วัน)
  • 7. ค่าใช้จ่ายในการทดลอบห้องปฏิบัติการจะประสานผู้ประกอบการเอง
  • 8. การแจ้งผลการพดลอบห้องปฏิบัติการเอกชนจะแจ้งให้ผู้ประกอบการและกรมวิชาการเกษตรทราบผ่านอีเมลและนำส่งผลทดสอบฉบับจริงให้ผู้ประกอบการทราบภายหลัง
  • 9. กรอบระยะเวลาการดำเนินการ 15 วัน เริ่มวันที่  2-16 กันยายน 2567
  • 10. ข้อมูลผลการทดสอบที่ไม่ผ่านจะไม่มีผลต่อต่อการออกไป PC
  • 11.ผลทดสอบไม่ผ่าน กรมวิชาการเกษตรจะขอความร่วมมือผู้ส่งออกเรียกคืนสินค้าล็อตนั้นและเจ้าหน้าที่เข้าตรวจติดตามเพื่อหาสาเหตุและการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับโรงคัดบรรจุทันที

อย่างไรก็ดีปัญหาทุเรียนทางกรมวิชาการเกษตร นับตั้งแต่เกิดปัญหาตั้งแต่เดือนเมษายน ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ลงไปตรวจพื้นที่แล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ดังนั้นการเรียกประชุมในครั้งนี้เพื่อแจ้งให้ทราบว่าทางออกมีปัญหาแล้วที่ผ่านมาเคยส่งออกไปจีน ไม่เคยพบการแจ้งเตือนเลย ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอยากให้ผู้ประกอบการช่วยให้ข้อมูลว่าเกิดจากอะไร ซึ่งจากการสอบถามโรงคัดบรรจุที่เกิดเหตุให้ข้อมูลกับกรมในทางที่ดีทั้งหมด จนไม่สามารถที่จะหาสาเหตุได้ ที่จะไปร่วมประชุมกับจีนในสัปดาห์หน้า แล้วถ้าเป็นอย่างนี้อาจจะโดนมาตรการเช่นเดียวกับประเทศเวียดนามเสี่ยงจะโดนระงับทั้งหมด ดังนั้นจึงกำหนดมาตรการให้ทุกล้งปฏิบัติในการบริหารจัดการ

“ทางจีนตั้งข้อสังเกต ขอให้ไทยอย่าทิ้งประเด็นการลักลอบนำเข้าทุเรียนนำเข้าจากเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่มีการปนเปื้อนที่ทางการจีนปฏิเสธ มาเข้าทางไทยหรือไม่ ซึ่งในสัปดาห์หน้าทางการจีนจะมีการประชุมกับฝ่ายผู้บริหารไทย ถึงทิศทางอนาคตทุเรียนจะเป็นอย่างไร แล้วในการนำเสนอแนวทางป้องกัน 10 มาตรการ เพียงพอหรือไม่ ” แหล่งข่าวกล่าวย้ำในตอนท้าย

อนึ่ง ปัจจุบันทุเรียนสดไทย ส่งออกไปจีน 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ปริมาณรวม 661,555.94 ตัน มูลค่า 87,799.80 ล้านบาท ขณะที่ปี 2566 ทุเรียนสดส่งออกทั้งปี รวม 945,789.30 ตัน มูลค่า 120,459.75 ตัน จำนวนใบรับรองสุขออนามัยพืช จำนวน 56,992 ใบ