climatecenter

นักวิชาการ ทวงถาม “กฎหมายคุมขยะอิเล็กทรอนิกส์” ทำไมไทยไม่มี

    นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทวงถาม “กฎหมายคุมขยะอิเล็กทรอนิกส์” ทำไมประเทศไทยไม่มี ทั้งที่ผ่านสภาแล้ว ตั้งแต่ปี 2562 ที่มาปัญหาขยะกากอุตสาหกรรม

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์บทความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิคส์ ที่ในประเทศไทยยังขาดกฎหมายควบคุมดูแลอย่างจริงจัง ทั้งที่เคยเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติมาแล้วตั้งแต่ปี 2562 แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้ 

มีผลให้ปัจจุบันมีขยะอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์จำนวนมากถูกทิ้งปนเปื้อนในขยะชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีทั้งชุมชนและโรงงานทุนสีเทาบางแห่งได้นำซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิคส์ดังกล่าวมาสกัดเอาของมีค่าออกมาใช้ประโยชน์อย่างผิดกฎหมายและเอากากที่ปนเปื้อนด้วยสารโลหะหนักมาทิ้งไว้ในบ่อดินของชุมชนบ้าง ซุกซ่อนฝังดินไว้ในโรงงานบ้างเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปทั่ว เช่น โรงงานทุนสีเทาจำนวน88 ไร่ที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี หรือจ.ระยอง จ.อยุธยาจนเกิดไฟไหม้ทำลายหลักฐาน แต่ได้ถูกละเลยโดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

สภาพโรงงานของ บริษัท วิน โพรเสส จำกัด

ในโพสต์ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษได้ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ... ซึ่งได้มีการ นำผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับและนำกฎ หมายต่างประเทศมาประกอบในร่างดังกล่าว และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระ 2 และวาระ3 ตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.2562  แต่สุดท้ายกฎหมายฉบับนี้ สนช.ก็ไม่ผ่านออกมา.เพราะภาคเอกชนรายใหญ่บางแห่งไม่เอาด้วย 

ปัจจุบันพรรคการเมือง และกรมควบคุมมลพิษได้นำร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ พ.ศ...มาปัดฝุ่นโดยเสนอเป็นกฎหมายฉบับใหม่ แต่ก็ยังไม่ผ่านออกมา 

ดร.สนธิ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถึงแม้ประ เทศไทยจะมีทั้งสส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีสว.มาจากการแต่งตั้งเป็นเวลาหลายปีแล้วก็ตาม แต่ยังไม่เห็นมีฝ่ายใดผลักดันร่างพรบ.ฉบับนี้ออกมาอย่างจริงจัง ประเด็นที่ถูกถกเถียงมากที่สุด คือมีบางมาตรของร่างกฏหมายระบุว่าให้ผู้ผลิตมีหน้าที่รับคืน และรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันไม่ว่าจะเป็นของผู้ผลิตรายใดก็ตาม เช่น หากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดที่ไม่สามารถค้นหาที่มาได้ ให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายอื่นจะต้องรับคืนซากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หาแหล่งกำเนิดไม่พบ เพื่อนำไปกำจัดด้วย

ซากขยะอิเล็กทรอนิกส์

ประด็นนี้ทำให้ที่ผู้ประกอบการยังไม่เห็นด้วยทั้งที่ได้เงินค่ากำจัด หรือค่ารีไซเคิลที่ผู้ซื้อได้จ่ายรวมไว้ในสินค้าแล้วจากผู้ส่งกากมาจัดการ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น ร้านค้าปลีกจะต้องรับคืนซากผลิต ภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านดังกล่าวจากผู้ลูกค้าทุกยี่ห้อและส่งให้โรงงานผู้ผลิตดำเนินการต่อไป

เมื่อบริษัทผู้ผลิตรับซากดังกล่าวมาแล้ว จะต้องทำการคัดแยกและนำไปรีไซเคิลที่โรงงานที่ได้จดทะเบียนกับหน่วยราชการไว้ รวมทั้งจะต้องทำการกำจัดขยะพิษได้อย่างปลอดภัยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป กฎหมายรับคืนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ (Extended Producer Responsibility หรือ EPR)ของประเทศญี่ปุ่น ครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 4ชนิดได้แก่ โทรทัศน์รุ่นเก่าจอ CRT ทีวีจอแบนรุ่นใหม่, เครื่องซักผ้า, ตู้เย็น,ตู้แช่แข็งและเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ 

โดยกำหนดให้ผู้ผลิต ร้านค้าปลีกและผู้บริโภคทั้งหมดมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว กำหนดให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการรีไซเคิลรวมอยู่ในราคาของสินค้า เช่น ต้องจ่ายเงินเพิ่มสำหรับโทรทัศน์เครื่องละ 800 บาท, เครื่องซักผ้าเครื่องละ700 บาท,ตู้เย็นเครื่องละ1,360 บาทและเครื่องปรับอากาศเครื่องละ1,035 บาท เป็นต้น 

กฎหมายนี้บังคับผู้บริโภคเมื่อใช้จนไม่ต้องการแล้วห้ามนำไปทิ้งโดยเด็ดขาดโดยมีโทษปรับอย่างแรง จะต้องนำซากอุปกรณ์ดังกล่าวไปคืน ให้กับร้านค้าปลีกที่จัดจำหน่ายแห่งใดก็ได้เท่านั้น ส่วนการขนส่งซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศอื่นถือว่าผิดกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น และอนุสัญญาบาเซลมีทั้งโทษปรับและโทษจำคุก

สำหรับกฎหมายรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ภายในบ้าน (Home Appliance Recycling Law) มีมาตั้งแต่ปี 2544 โดยสามารถบริหารจัดการนำขยะจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในประเทศมาก กว่า600,000 ตัน/ปี หรือ 80%ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นให้ถูกนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้