ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวันนี้ (24ก.ค.67) กรมชลประทาน โดยนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมชสประทาน สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ทำหนังสือถึง อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เรื่อง แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 2
โดยระบุว่า ตามประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2567เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำบ่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 - 31 กรกฎาคม 2567 จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ประเทศเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิบไตยประชาชนลาว และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำต่ำกำลังแรงบริเวณตอนไต้ของประเทศจีน
ประกอบกับตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น จะทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมถึงมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคตะวันตก
จากการคาดการณ์โดยกรมชลประทานใน 1-3 วันข้างหน้า โดยในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ที่สถานี C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,200 - 1,300 ลูกบาศก์เมศรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขามีปริมาณประมาณาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณระหว่าง 1,500 - 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800-1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.80-1.10 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผงเผงจังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด
ตำบลทำดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนพระนครศรีธยา (แม่น้ำน้อย) โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่บต่อพื้นที่ชุมที่ชุมชน
หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเชื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานได้แจ้งเตือน 11 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น
รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ทำหนังสือไปยัง ผู้ว่ากทม. อุทัยธานี ชัยนาท สิงท์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานีนนทบุรี และสมุทรปราการ
เพื่อแจ้งให้จังหวัดเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นต้นไป
โดยอ้างอิงหนังสือด่วนที่สุดจากกรมชลประทานฉบับดังกล่าว พร้อมกับขอให้ผู้ว่าฯรายงานผลการดำเนินการแจ้งเตือนภัยของจังหวัดตามหนังสือกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง