ลอยกระทง 2567 เลือกกระทงแบบไหนกัน หลายคนอาจคิดว่า กระทงขนมปัง เป็นทางเลือกที่ดี เพราะย่อยสลายได้และปลาก็กินได้ แต่รู้หรือไม่ว่า การเลือกใช้ขนมปังทำกระทง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่คิด
ขนมปัง 1 ก้อนปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณครึ่งกิโลกรัม ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากขนมปัง 43 % มาจากปุ๋ยที่ใช้ปลูกข้าวสาลี และจากเปอร์เซ็นต์ดังกล่าว 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากการผลิตปุ๋ย ซึ่งต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นอย่างมาก
กระบวนการอื่นๆ เช่น การไถพรวนดิน การชลประทาน การเก็บเกี่ยว และการใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนโรงสีและโรงงานเบเกอรี่ ล้วนใช้พลังงานมากเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้สิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับการใส่ปุ๋ย
ตั้งเเต่ การปลูกข้าวสาลีใช้พื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ การใช้ปุ๋ยเคมี น้ำ 100-180 ลิตรต่อขนมปัง 1 กิโลกรัม ไฟฟ้าในการอบ 1.5-2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เวลาย่อยสลายยาก ข้าวสาลีที่ใช้ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องขนส่งระยะไกลนับหมื่นกิโลเมตร เป็นปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งมหาศาล
เมื่อกระทงขนมปังลอยในน้ำ
ขนมปัง ซึ่งเป็นแป้งคาร์โบไฮเดรต น้ำมีเชื้อจุลินทรีย์จะเริ่มย่อยแป้ง กระบวนการนี้จะทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง เมื่อออกซิเจนในน้ำมีลดน้อยลง สัตว์น้ำก็ตายได้ เกิดน้ำเน่าเสียได้ง่ายมากขึ้น
ผลกระทบดังกล่าวใช้ระยะเวลากว่าจะหายไป ไม่ว่าจะเป็นการตก ตะกอนขนมปังสะสมใต้น้ำ เกิดชั้นดินเลนที่ขาดออกซิเจน แพลงก์ตอนและสาหร่ายเติบโตผิดปกติ ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศถูกทำลาย ต้องใช้เวลาฟื้นฟูหลายเดือน
ขณะที่ในแต่ละปี โลกสูญเสียอาหาร 1 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมด การนำขนมปังมาทำกระทงเป็นการเพิ่มปัญหาขยะอาหารโดยไม่จำเป็น ทั้งที่ยังมีผู้คนอีกมากที่ขาดแคลนอาหาร ยกตัวอย่างใน สหราชอาณาจักรทิ้งขนมปังมากถึง 24 ล้านแผ่นต่อวัน
อ้างอิงข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง