คลื่นความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้ปี 2016 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าเมื่อผนวกกับปราฏการณ์เอลนีโญมีโอกาส 1 ใน 3 ที่ปี2024 อุณหภูมิจะร้อนทุบสถิติเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 99%
ในขณะที่ปี 2023 คาดการณ์ว่าเอลนีโญได้สร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรของไทยประมาณ 48,000 ล้านบาท และกระทบต่อเนื่องมายังปี 2024 ด้วย ในขณะที่ภาพรวมโลกจะทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายถึง3 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ปริมาณน้ำฝนน้อยลง และทำให้การเพาะปลูกพืชผลได้ผลผลิตไม่ตามเป้า
ที่ผ่านมาโลกเผชิญปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" มาแล้ว 5 ครั้ง ตั้งแต่ ปี 1972-1973, ปี 1982-1983,ปี1991-1992, ปี 1997-1998, ปี 2015-2016 และปี 2023-2024
วารสาร Science เผยว่า ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งนี้อาจทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและต่อเนื่องไปจนถึงปี 2029 แม้ว่าปรากฏการณ์จะผ่านพ้นไปแล้ว
นอกจากนั้นย้อนหลังไปดูภาวะเศรษฐกิจหลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 1982-1983 ในช่วง 5 ปีหลังจากปรากฏการณ์เอลนีโญพบว่า ทั่วโลกสูญเสียรายได้ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์
ภาวะเศรษฐกิจหลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 1997-1998 ทั่วโลกสูญเสียรายได้ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์ นั่นเท่ากับว่าผลกระทบด้านลบจากเอลนีโญจะคงอยู่เป็นเวลาหลายปี ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยที่ระดับความรุนแรงของผลกระทบแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค อย่างในสหรัฐอเมริกา GDP ลดลง3% แม้ว่าจะผ่านไป 5 ปีหลังปรากฏการณ์เอลนีโญ เมื่อเทียบกับประเทศในเขตร้อน เช่น เปรูและอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญมากกว่า ทำให้ GDP ประเทศเหล่านี้ลดลงมากกว่า 10%
คริสโตเฟอร์ กัลลาฮาน นักศึกษาจากวิทยาลัยดาร์ตมัธ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่า ผลกระทบจากเอลนีโญต่อเศรษฐกิจและสังคมอาจคงอยู่เป็นเวลานานและต้องใช้เวลาสักพักกว่าสิ่งต่างๆ จะกลับสู่ภาวะปกติ อีกทั้งอาจสร้างความเสียหายอย่างมากต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนซึ่งทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลงถึง 10 ปี
เอลนีโญส่งผลให้หลายพื้นที่ในเอเชียแห้งแล้งหนักในปี 2023 และคาดว่าสถานการณ์จะยังคงดำเนินต่อไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าว ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ โดยประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอาจต้องเผชิญกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากผลผลิตที่ลดลง
ปรากฏการณ์เอลนีโญได้ส่งผลให้สถานการณ์ผลผลิตข้าวในปี 2023 ลดลงอย่างมาก ซึ่งทำให้ราคาข้าวพุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี ขณะที่ราคาธัญพืชชนิดอื่นๆ ลดลง โดยราคาข้าวในตลาดส่งออกบางแห่งของเอเชียเพิ่มขึ้นถึง 40-45%
อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาผลผลิตข้าวในเอเชียในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 เนื่องจากเผชิญความแห้งแล้งและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ลดลง ซึ่งนักอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 สภาพอากาศทั่วโลกมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปสู่ลานีนา
นั่นคือ จะทำให้ออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดียมีปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น และทำให้สภาพอากาศแห้งยิ่งขึ้นในภูมิภาคที่ผลิตเมล็ดพืชน้ำมันในทวีปอเมริกา
แต่หลังเอลนีโญจบลงจะตามมาด้วยปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งศูนย์คาดการณ์สภาพอากาศของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐ ระบุว่า เอลนีโญรอบปัจจุบันซึ่งเกิดช่วงกลางปีที่แล้วจะลากยาวไปถึงเดือนเมษายน-มิถุนายนปีนี้ จากนั้นมีโอกาสถึง 58% ที่จะเกิดการเริ่มต้นของปรากฏการณ์ลานีญาในเดือนมิถุนายน-สิงหาคมปีนี้
ลานีญาปรากฏการณ์ที่เป็นขั้วอากาศตรงข้ามกับเอลนีโญจะทำให้เกิดฝนตกหนัก และอากาศหนาวเย็นในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวสาลีและข้าวโพดในสหรัฐฯ และการเพาะปลูกถั่วเหลืองในภูมิภาคลาตินอเมริกา
แน่นอนว่าจะส่งผลต่อการผลิตภาคเกษตรโดยรวมในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากทั้งสองปรากฏการณ์กล่าวโดยสรุปสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นและแห้งแล้งมากขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนิโญ รวมทั้งปริมาณน้ำฝนที่มาจากลานีญา ผนวกกับภาวะโลกร้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้นจะยิ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก
สำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และถึงจุดแข็งสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ โดยทั่วไปจะคงอยู่ได้นาน 9-12 เดือน แม้ว่าบางครั้งจะคงอยู่นานถึง 2 ปีก็ตามแต่โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นอีกทุกๆ 2 ถึง 7 ปี
อ้างอิง:
• https://www.thaipbs.or.th/news/content/333859
• https://www.theverge.com/2023/5/20/23730210/el-nino-economic-costs-dartmouth-study
• https://www.reuters.com/world/americas/shift-el-nino-la-nina-portends-rains-asia-dryness-americas-2024-02-07/
• https://iri.columbia.edu/our-expertise/climate/forecasts/enso/current/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง