thansettakij
"GPSC" ต่อยอด "คนมีไฟปี 2" ผลิตไฟพลังงานแสงอาทิตย์ลดคาร์บอนกว่า 70,000 ก.ก.
net-zero

"GPSC" ต่อยอด "คนมีไฟปี 2" ผลิตไฟพลังงานแสงอาทิตย์ลดคาร์บอนกว่า 70,000 ก.ก.

    "GPSC" ต่อยอด "คนมีไฟปี 2" ผลิตไฟพลังงานแสงอาทิตย์ลดคาร์บอนกว่า 70,000 ก.ก. เดินหน้าผนึกกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน และ 10 หน่วยงาน มุ่งเข้าสู่สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน 

นางปริญดา มาอิ่มใจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนในการบริหารจัดการพลังงานภายในองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

โดยร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กับหน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 แห่ง จากหน่วยงาน หรือองค์กรสาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีการดำเนินงานด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการคนมีไฟ ปี 2 ประจำปี 2567 โดยหน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 แห่ง ประกอบด้วย สมาคมรักษ์กุ้งก้ามกราม จ.พัทลุง ,ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ระยอง ,คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.สกลนคร
 

,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผาลาด จ.พะเยา ,โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ จ.ฉะเชิงเทรา ,โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ,โรงเรียนขุนขวากพิทยา จ.เชียงราย ,วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จ.ฉะเชิงเทรา ,โรงเรียนวัดสลักเพชร จ.ตราด และโรงเรียนบ้านห้วยทับมอญ จ.ระยอง 

"GPSC" ต่อยอด "คนมีไฟปี 2" ผลิตไฟพลังงานแสงอาทิตย์ลดคาร์บอนกว่า 70,000 ก.ก. "GPSC" ต่อยอด "คนมีไฟปี 2" ผลิตไฟพลังงานแสงอาทิตย์ลดคาร์บอนกว่า 70,000 ก.ก.

ซึ่ง GPSC จะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ การใช้งานและบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ให้กับทุกหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงาน โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริด (On-Grid) ได้เป็นจำนวน 100 กิโลวัตต์ ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 600,000 บาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 70,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCo2eq) ต่อปี
          
นางปริญดา กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ มีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นโมเดลของการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับชุมชนด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงยังเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ชุมชนและหน่วยงาน มุ่งไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเข้าสู่สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน 

 

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้หน่วยงานแต่ละแห่ง นำงบประมาณที่ประหยัดได้จากค่าไฟฟ้าที่ลดลงไปต่อยอดโครงการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ เช่น การสร้างอาชีพ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การสร้างศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงาน เป็นต้น  

สำหรับโครงการคนมีไฟ ปีแรก ในปี 2566 ได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเสร็จ จำนวน 5 องค์กร สามารถส่งมอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริด (On-Grid) จำนวน 107.46 กิโลวัตต์ ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 600,000 บาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 73,387 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCo2eq) ต่อปี 

ควบคู่ไปกับการดำเนินโครงการพัฒนาสังคมเพื่อส่งต่อให้กับชุมชนในพื้นที่ ได้แก่ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับการสนับสนุนอาชีพการแปรรูปอาหารท้องถิ่น, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ กับศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมการเกษตร, โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 8 จ.อุดรธานี กับโครงการคลินิกบำบัดยาเสพติดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย, สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.กรุงเทพฯ กับโครงการบริการตู้น้ำดื่มให้ชุมชน และมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง กับโครงการสร้างอาชีพทอผ้าพื้นเมืองให้กับนักเรียนในพื้นที่