net-zero

"มิตรผล" ยกระดับเกษตรไทยจากไร่อ้อย สู่ "พลังงานสะอาด"

    มิตรผล ยกระดับเกษตรไทยพัฒนาการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สู่ "พลังงานสะอาด" เป็นพลังงานและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า แนวทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของกลุ่มมิตรผลว่า ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ คือปรัชญาหลักที่กลุ่มมิตรผลยึดมั่นในการดำเนินงานมาโดยตลอด ตั้งแต่ก้าวแรกของการทำธุรกิจที่ตั้งใจสร้างการเติบโตเคียงข้างทุกภาคส่วน

อีกทั้งเราเล็งเห็นถึงความพร้อมและโอกาสของประเทศไทยในการสร้างพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน เนื่องด้วยประเทศไทยมีภูมิศาสตร์และความสามารถที่เอื้อต่อการทำอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของกลุ่มมิตรผลที่มองว่าภาคเกษตรคือหนึ่งกำลังสำคัญในการสร้างการพัฒนาอย่างมั่นคงให้กับประเทศ

 

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ

 

จากการต่อยอดสู่การผลิตพลังงานและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและผู้บริโภคที่เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากวัสดุชีวภาพ (Bio-based) มาทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฐานจากปิโตรเลียม (Petroleum-based) ที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มมิตรผลจึงมุ่งมั่นพัฒนาภาคเกษตรไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากภาคเกษตรด้วยแนวคิด เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไร้ค่าให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า (From Waste to Value Creation) มานานกว่า 20 ปี

โดยเริ่มจากการผลิตไฟฟ้าชีวมวลด้วยชานอ้อยที่เหลือจากโรงงานน้ำตาล อีกทั้งยังได้พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อนำวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรอื่นๆ เช่น ใบอ้อย มาใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริม

 

\"มิตรผล\" ยกระดับเกษตรไทยจากไร่อ้อย สู่ \"พลังงานสะอาด\"

 

ช่วยส่งเสริมการตัดอ้อยสดของเกษตรกรในฤดูเก็บเกี่ยวเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เพิ่มความมั่นคงของเชื้อเพลิงชีวมวล และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมากลุ่มมิตรผลรับซื้อใบอ้อยเป็นจำนวนรวมแล้วกว่า 1.7 ล้านตัน สร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรกว่า 2.5 พันล้านบาท

นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังได้เข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) จำนวน 10 โครงการ ทำให้มีคาร์บอนเครดิตสะสมกว่า 900,000 ตันคาร์บอนฯ ต่อปี

โดยได้รับการรับรองสิทธิในการเป็นผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates : RECs) ซึ่งเป็นหนึ่งกลไกที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรับตัวเพื่อพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมได้มากขึ้น

ด้านธุรกิจเอทานอล กลุ่มมิตรผลได้นำกากน้ำตาลหรือโมลาส ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล รวมถึงน้ำอ้อยมาเพิ่มมูลค่าด้วยการผลิตเป็นเอทานอลหลากหลายเกรดเพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกัน อาทิ ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ใช้ในรถยนต์ เอทานอลสำหรับอุตสาหกรรม เอทานอลสำหรับเภสัชกรรม

รวมถึงเอทานอลเกรดสำหรับอุตสาหกรรม BCG อย่างการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยาน (SAF) และอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปิโตรเลียมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่ง

 

\"มิตรผล\" ยกระดับเกษตรไทยจากไร่อ้อย สู่ \"พลังงานสะอาด\"

ภายในงาน SustainAsia Week 2024 กลุ่มมิตรผลได้ร่วมโชว์ศักยภาพของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากภาคเกษตรไทยซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาที่ใช้ทรัพยากรและวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกรต้นทางที่จะมีรายได้ที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีจากอาชีพเกษตรกรรม โรงงานไฟฟ้าชีวมวลหรือโรงงานเอทานอลก็สามารถผลิตพลังงานหมุนเวียน เชื้อเพลิงชีวภาพ และวัตถุดิบชีวภาพต่างๆ เพื่อสนับสนุนความมั่นคง
ด้านพลังงานของประเทศ

รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ให้สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย โดยงานนี้ กลุ่มมิตรผล ได้สนับสนุนคาร์บอนเครดิต จำนวนกว่า 1,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เพื่อให้งานนี้เป็น Carbon Neutral Event หรือเป็นงานที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนแนวทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากภาคเกษตรดังกล่าว นับเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญภายใต้กลยุทธ์การสร้างความยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล “Mitr Phol Triple Grows: Grow for Generation, Grow for Green, Grow Together” ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างและส่งต่อความยั่งยืนจากภาคเกษตรไทยสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง

ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนจากกลุ่มมิตรผล สามารถพบกันได้ที่มหกรรมด้านพลังงานของปี SustainAsia Week 2024 ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ อาคาร EH 100 บูธ A1 ไบเทค บางนา