sustainability

เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เผย 3 แกนหลัก ปลูกมันฝรั่ง ปั้นโมเดลเกษตรยั่งยืน

    เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เผย 3 แกนหลัก วิสัยทัศน์เพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่ง ปั้นโมเดลเกษตรยั่งยืน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทั่วโลกต้องเผชิญ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มซึ่งพึ่งพาวัตถุดิบจากภาคเกษตรกรรมก็ต้องปรับตัวรับมือกับความท้าทายนี้เช่นกัน 

 

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด หรือ "เป๊ปซี่โค ประเทศไทย" ตั้งเป้าสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้เกษตรกร ยกระดับการเพาะปลูก "มันฝรั่ง" ให้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย

 

จากรายงานของ NielsenIQ ภาพรวมของตลาดมันฝรั่งทอดของประเทศไทยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 14,000 ล้านบาท ปัจจุบันเกษตรกรไทยสามารถป้อนมันฝรั่งเข้าสู่กระบวนการแปรรูปได้ปีละกว่า 100,000 ตัน ภายใต้การส่งเสริมการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน และการทำงานร่วมกันของ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เกษตรกรและภาครัฐ

 

ด้วยความร่วมมือที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความท้าทายด้านการเพาะปลูก สภาพดินและสภาพอากาศ ทำให้ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมันฝรั่งใน 10 จังหวัดของไทย รวมแล้วกว่า 38,000 ไร่ ทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สร้างรายได้โดยรวมในปัจจุบันได้ถึง ปีละ 1,500 ล้านบาทให้แก่เกษตรกรภายใต้เกษตรพันธสัญญา 5,800 ราย และมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรที่อยู่ภายใต้เกษตรพันธสัญญาทั้งหมดให้ปฏิบัติตามแนวทางเกษตรยั่งยืนและมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15 ภายในปี 2573

 

อย่างไรก็ตาม เป๊ปซี่โค ประเทศไทย มีการวางแผนเพื่อเตรียมรับมือกับสภาวะภูมิอากาศที่มีความผันผวนรุนแรงไว้ด้วยเช่นเดียวกันเพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้เกษตรกร รวมถึงการวางแผนการจัดการวัตถุดิบให้พอเพียงกับปริมาณผลิตและความต้องการภายในประเทศเพื่อไม่ให้กระทบภาคการผลิตซึ่งอยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน

 

ความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการนำแนวปฏิบัติของโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนมาปรับใช้ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะปลูก รวมถึงการอนุรักษ์น้ำ การดูแลสุขภาพดิน การจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ ช่วยลดภาระต้นทุนและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกรไทย

 

อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิอากาศที่มีความผันผวนรุนแรงยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่เป๊ปซี่โคเตรียมรับมือ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้เกษตรกรและจัดการวัตถุดิบให้พอเพียงปริมาณผลิตและความต้องการของตลาด  

 

แนวทางในการรับมือปัญหานี้ของเป๊ปซี่โคอยู่ภายใต้กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่เรียกว่า "PepsiCo Positive หรือ pep+" ซึ่งมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่...  

 

  • การเกษตรเชิงบวก ฟื้นฟูผืนดินกว่า 18 ล้านไร่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิอย่างน้อย 3 ล้านตันภายใน 2573

 

  • ทางเลือกเชิงบวก พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีคุณค่าทางโภชนาการ และปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์เดิม  

 

  • ห่วงโซ่คุณค่าเชิงบวก สร้างห่วงโซ่คุณค่าแบบหมุนเวียนวัตถุดิบ ส่งเสริมการรีไซเคิล และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน 2583 

 

โดยภายในปี 2573 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้มากกว่า 40% ทั้งนี้ ในปี 2566 เพียงปีเดียว โรงงานทั้ง 2 แห่งที่ลำพูนและโรจนะได้บรรลุความสำเร็จในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้ 100% แล้ว และยังลดการใช้ทรัพยากรน้ำไปได้รวม 15% จากอัตราปกติด้วย และในส่วนบรรจุภัณฑ์นั้น ก็สามารถดึงกลับมาได้กว่า 10% ในปี 2566 และเราได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนการดึงกลับให้ได้ 30% ในปี 2568 ด้วย

 

เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์นี้ เป๊ปซี่โคได้ริเริ่มโครงการ "Greenhouse Accelerator" เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอดการทำงาน โดยในปีนี้ได้ขยายไปยังหัวข้อ "เกษตรกรรมยั่งยืน" ด้วย โดยมีสตาร์ทอัพจากหลายประเทศรวมถึงไทยผ่านเข้ารอบ

 

สำหรับโครงการ Greenhouse Accelerator ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ก้าวหน้าและยั่งยืน โดยโครงการเริ่มต้นขึ้นที่ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ ภูมิภาคตะวันออกกลาง และมาถึงเอเชียแปซิฟิกในปี 2566 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพเกิดใหม่จากโครงการนี้ 86 แบรนด์ มียอดขายเติบโตรวมกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 700 ล้านบาท

 

การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การพัฒนานวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเป๊ปซี่โค ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรและยกระดับอุตสาหกรรมมันฝรั่งของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

 

เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เผย 3 แกนหลัก ปลูกมันฝรั่ง ปั้นโมเดลเกษตรยั่งยืน เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เผย 3 แกนหลัก ปลูกมันฝรั่ง ปั้นโมเดลเกษตรยั่งยืน เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เผย 3 แกนหลัก ปลูกมันฝรั่ง ปั้นโมเดลเกษตรยั่งยืน