sustainability

ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผนึก ม.ขอนแก่น เพาะเลี้ยงแมลง ลด Zero Food Waste หนุนเกษตรกร

    ซีพี แอ็กซ์ตร้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพฯ ลงนาม MOU สานต่อโครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (BSF) ตั้งเป้าลดขยะอาหารเป็นศูนย์ ภายในปี 2573

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แม็คโคร-โลตัส ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผนึก ม.ขอนแก่น เพาะเลี้ยงแมลง ลด Zero Food Waste หนุนเกษตรกร

เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแนวทางที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” โดยการนำอาหารจากสาขาแม็คโคร และโลตัสทั่วประเทศ มอบให้เกษตรกรในเครือข่าย นำไปเป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) มุ่งสู่เป้าหมายลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ (Zero Food Waste) ภายในปี 2573

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ซีพี แอ็กซ์ตร้า มุ่งดำเนินธุรกิจเคียงข้างสังคมไทย พร้อมยืนหยัดการเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) โดยแม็คโคร-โลตัสให้ความสำคัญกับการลดการสูญเสียอาหารและปริมาณขยะอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผนึก ม.ขอนแก่น เพาะเลี้ยงแมลง ลด Zero Food Waste หนุนเกษตรกร

จึงได้ร่วมกับพันธมิตรระดับประเทศ นำโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ดำเนินโครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” บริจาคอาหารส่วนเกิน อาทิ ผัก ผลไม้ และอาหารสด จากแม็คโครและโลตัส กว่า 230 สาขา

ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ซีพี แอ็กซ์ตร้า ได้มอบอาหารส่วนเกิน เพื่อนำไปเลี้ยงแมลงโปรตีนกว่า 1,000,000 กิโลกรัม กับเกษตรกร 135 ราย รวม 50 จังหวัดที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อนำไปใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลง

ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผนึก ม.ขอนแก่น เพาะเลี้ยงแมลง ลด Zero Food Waste หนุนเกษตรกร

โปรตีน (BSF) สนับสนุนเกษตรกรในการการลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ว่า 50% ของค่าใช้จ่าย รวมถึงยังได้ปุ๋ยจากมูลหนอน และซากแมลงโปรตีน ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  ซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อพืช และชุมชนแล้ว ตัวหนอนยังมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจร

ความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาขยะอาหารแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืน ลดค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรในชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยลดปริมาณขยะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจไทย