นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยในงาน “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” ภายใต้หัวข้อ “Financial for Sustainability” ว่า ธนาคารออมสินตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ให้ได้ 1.72 ล้านตันคาร์บอนด์ไดออกไซด์
โดยปี 2030 มีเป้าหมายปล่อยลดลง 50% ของคาร์บอนด์ที่ปล่อย และเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 โดยธนาคารมีรายการกลุ่มอุตสาหกรรมที่ออมสินพิจารณาไม่ปล่อยสินเชื่อ เช่น ธุรกิจถ่านหิน ในขณะเดียวกันรายการธุรกิจที่จะมุ่งส่งเสริมเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ออมสินจะปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มนี้ และด้วยการที่เป็นธนาคารเพื่อสังคม แนวคิด ESG จึงจะต้องเน้นตัว S ซึ่งจะโตกว่าตัวอื่นเพราะด้วยภารกิจหลักคือ ทำเรื่อง Social ช่วยคนช่วยสังคมดึงคนยากจน กลุ่มฐานรากให้เข้าสู่ระบบทางการเงินให้มากที่สุด
ซึ่งความโชคดีของการเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงต้องมีกำไรเยอะพอสมควรเพื่อส่งให้กับภาครัฐให้เป็นงบประมาณหลักที่เป็นองค์กรที่ไม่ต้องมีกำไรสูงสุด แต่สามารถช่วยรัฐบาลทำธุรกิจปกติในเชิงพาณิชย์ในพอร์ตขนาดใหญ่ได้
ทั้งนี้ มองว่าจุดยืนโดยรวมของแต่ละธนาคารมีทิศทางเดียวกัน คือ การดูแลลูกค้าที่อาจแตกต่างกัน ทั้งการปล่อยสินเชื่อรายใหญ่และรายเล็ก แต่หากเป็นรายเล็กก็อาจต้องเข้าไปเทรนก่อนว่าทำอย่างไรเพื่อทำธุรกิจคาร์บอนต่ำ แต่สิ่งที่ออมสินทำเพิ่ม นอกจากการสนับสนุนธุรกิจใหม่ คือการทำ ESG Score
โดยการพัฒนาสกอร์ขึ้นมาช่วยลูกค้าในระดับ 1-10 หากใครได้คะแนนสูง 8-10 ก็จะลดดอกเบี้ยให้ ถือเป็นข้อกำหนดสินเชื่อกรอบวงเงิน 500 ล้านบาทขึ้นไป โดยขณะนี้ออมสินได้มีการปล่อยสินเชื่อผ่าน ESG Score ไปแล้วกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท หรือกล่าวได้ว่าผลคะแนนจะถูกนำมามาประกอบการพิจารณาสินเชื่อเป็นกรณีพิเศษ
"การใช้ ESG Score ก็เหมือนเป็นการ Incentive ให้เขาเข้ามาร่วมทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ตอนนี้ก็เป็นขอสินเชื่อตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไปต้องผ่าน Score นี้เท่านั้น ซึ่งล่าสุดออมสินได้ปล่อยสินเชื่อด้วย ESG Score ไปแล้วประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทแล้ว ปี 68 จะดึงยอดของสินเชื่อลงมาอยู่ที่ 250 ล้านบาท หากรายใดไม่พร้อมออมสินก็พร้อมเข้าไปช่วย เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งเป็นการ Engagement อีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง"
อย่างไรก็ตาม ออมสินต่างจากธนาคารอื่น ภารกิจเราต้องการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสีเขียว การทำให้เกิดโปรแกรมเพื่อเกิดการเปลี่ยนผ่าน การลดดอกเบี้ยยังคงเป็นประเด็นสำคัญ เป็นหน้าที่ที่นำเพื่อผลักดันเป้าหมายประเทศสู่เป้า Net Zero ดังนั้น ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินของ SMEs จะมีปัญหา ซึ่งจำนวนมากที่กู้ไม่ได้ลำบาก เพราะธนาคารต่างต้องลดความเสี่ยง โดยอาจต้องยอมทำโครงการที่เจ็บตัวบ้าง เพื่อให้รายเล็กๆ ส่วนที่เหลือมีเครดิตดี มีหลักประกันให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง