7 กลุ่มโทรคมตกลงร่วมเช่าท่อร้อยสาย กทม. 88 เส้นทาง

23 ส.ค. 2562 | 04:55 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ส.ค. 2562 | 12:50 น.

       เปิดศึกกันไม่เลิกสำหรับโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดยแบ่งขั้วกันชัดเจนระหว่าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร หลังเปิดให้ยื่นข้อเสนอใช้บริการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมโดยเลือกบริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด เนื่องจากยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวและขอเช่าใช้ท่อจำนวน 80%  
    

       ขณะที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องออกมาสกัดโครงการดังกล่าวด้วยเหตุที่ว่าทำไมต้องลงทุนซ้ำซ้อน โดยบรรดาผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้ง 7 ราย ยกเว้นกลุ่มทรู ผนึกกำลังยืนยันจะเช่าท่อร้อยสายของ "ทีโอที" เหมือนเดิม

7 กลุ่มโทรคมตกลงร่วมเช่าท่อร้อยสาย กทม. 88 เส้นทาง

 

         "ตอนนี้กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้ง 7 ราย คือ เอดับบลิวเอ็น เครือเอไอเอส ,3บีบี,เอแอลที,ดีแทค,อินเตอร์ลิ้งค์,ซิมโฟนี่ และ ยูไอเอช ได้ตกลงร่างบันทึกความเข้าใจร่วมกันขอใช้ท่อร้อยสายสื่อสารลงใต้ดินของ ทีโอที เพื่อร้อยสายเคเบิลใยแก้วยนำแสง/ทองแดงลงในท่อร้อยสาย จำนวน 88 เส้นทาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเนื่องจาก ทีโอที มีแผนปรับลดราคาค่าเช่าท่อร้อยสาย" แหล่งข่าววงการโทรคมนาคม เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"


     อย่างไรก็ตามหลังจากทั้งสองฝ่ายตกลงร่างบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้วจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันโดยขณะนี้สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์กำลังรวบรวมข้อมูลจากทุกโอเปอเรเตอร์เพื่อนำส่งปริมาณรวมให้กับทีโอที 

          เหตุผลที่ 7 ผู้ประกอบการโทรคมนาคมต้องออกมาเคลื่อนไหวเพราะโครงการนี้ผูกขาดทางธุรกิจ ถ้าเอกชนขอเช่าใช้ท่อร้อสายและในอนาคตมีความเสี่ยงถ้าหากมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นต้องแบกรับภาระต้นทุน
    

       "กินรวบอยู่รายเดียว ไม่ยอมแบ่งให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม แม้ตอนนี้ เคที  เดินหน้าโครงการนี้ต่อเพราะเป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรีฯเพื่อให้กรุงเทพมหานครเกิดความสวยงาม แต่ปัญหาคือราคาค่าเช่าท่อต้องสมเหตุสมผลและไม่ควรให้เอกชนผูกขาดแต่เพียงรายเดียว" 
 

        ขณะที่ นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง ประธานกรรมการ ของ เคที กล่าวว่า ภายในต้นเดือนกันยายนนี้ เคที ทำโครงการนำร่องนำสายสื่อสารลงดินระยะทาง 6 กิโลเมตร เช่น พลหโยธิน และ สุขุมวิท เป็นต้น โดยทำร่วมกับการไฟฟ้านครโครงการท่อร้อยสายสื่อสารลงดิน ไม่มีการผูกขาดหรือให้สัมปทานกับเอกชนรายใดรายหนึ่งการสรรหาผู้ใช้บริการได้ดำเนินตามขั้นตอนด้วยความโปร่งใสไม่ได้มีลักษณะการปกปิดหรือจงใจไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ
    

     การกำหนดอัตราค่าบริการของโครงข่ายท่อร้อยสายสื่อสารฯ เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการกำกับดูแลและกำหนดราคาโดยตรง ทั้งนี้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด อยู่ในระหว่างการดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และทำโครงการนำร่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดราคาตามหลักเกณฑ์ที่กสทช.กำหนด จากนั้น บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จะนำส่งข้อเสนออ้างอิงการใช้ท่อร้อยสายสื่อสารเพื่อให้ กสทช.พิจารณาอัตราค่าตอบแทนการใช้ท่อร้อยสายสื่อสาร ตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้การลงทุนและการสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินหรือกับโครงสร้างพื้นฐานหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้บริการโทรคมนาคมต่อไป 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรูบิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● รสนาชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ทีโอทีฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● โปรดฟังอีกครั้ง! กรุงเทพธนาคมฯยันท่อร้อยรายไม่ผูกขาด-โปร่งใส