วันที่ 26 พฤษภาคม นายกมล เชียงวงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ชี้แจงแนวทางการเสนอโครงการ ภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ผ่านระบบการประชุมทางวิชาการ Video Conference ที่ห้องประชุมศูนย์ราชการศาลากลางจังหวัดพะเยา โดยมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน มีเนื้อหาว่า
ตามที่ ครม. ได้มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ ตามที่ ศสช.เสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำมาสู่การใช้จ่ายเงินภายใต้แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติตามพระราชกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่ประชุมได้ให้จังหวัดทุกจังหวัด ดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรอบวงเงิน 400,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติ และฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019 และแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโลก ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของไทย ในภาคการผลิต การบริการ และถ้าการส่งออกไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
แนวทางการพัฒนาแผนงานโครงการที่จะขอรับการจัดสรรเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนด ต้องมีความสอดคล้องกับหลักการ และกรอบแนวความคิด คือ ตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และข้อจำกัดของทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน หรือโครงการการลงทุน และกิจการที่พัฒนา ที่สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพและยกระดับการค้า การผลิต และการบริการ ในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
โดยครอบคลุมภาคเกษตรอุตสาหกรรมการค้า และการลงทุนท่องเที่ยวและบริการ แผนงานพื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ผ่านการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ โดยการส่งเสริมตลาดสำหรับผลผลิต และผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว หรือภาพบริการอื่น ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน การจัดหาปัจจัยผลิต และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน
รวมทั้งสร้างการเข้าถึงช่องทางการตลาด พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยการสร้างงานสร้างรายได้ให้เกิดในท้องถิ่นชุมชน