ภายในเดือนธันวาคมนี้ ถึงคิวรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวจะเปิดเดินรถเต็มทั้งระบบ เป็นระยะทางยาว 69 กิโลเมตร จำนวน 60 สถานี ประกอบด้วย ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต - คูคต ) 16 สถานี จะเปิดให้บริการเต็มทั้ง ระบบ เชื่อมต่อกับบีทีเอสที่ เปิดให้บริการปัจจุบัน โดยมีสถานีสยามเป็นจุดศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายก่อนแยก ไปยังสายสีลม เริ่มจากสถานี สนามกีฬาแห่งชาติ ระหว่างทางมีการก่อสร้างสถานีเพิ่มอีก1สถานี ที่ศึกษวิทยา ผ่านย่านแหล่งงานสำคัญ ก่อน ข้ามไปยังฝั่งธนบุรี สิ้นสุดที่สถานีบางหว้า และสายสุขุมวิท ย่านอยู่อาศัยแนวสูงกลางใจเมือง เชื่อมโยงไปยัง ส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ช่วง แบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ
อย่างไรก็ตาม หากบีทีเอส สายสีเขียวเหนือส่วนที่เหลือ แล้วเสร็จ จะเป็นผลดีต่อคนชานเมืองร่นระยะเวลาเดินทาง ตัดตรงจาก สถานีคูคตจังหวัดปทุมธานีโดยไม่เปลี่ยนขบวนรถ ผ่าเข้าใจกลางมหานครกรุงเทพย่านธุรกิจสำคัญ ก่อน มุ่งหน้าเข้าเขตท้องที่จังหวัดสุมทรปราการ สิ้นสุดสถานีปลายทาง เคหะสมุทรปราการ รวม3จังหวัด ด้วยความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางเพียง 30 นาที ถึง1ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายซึ่งขณะนี้ แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่ารอเพียงคณะรัฐมนตรี (ครม.)เคาะ ขณะราคาปกติที่บีทีเอสกรุ๊ปศึกษาอยู่ที่ 16 0บาท นอกจากนี้ระหว่างทางยังเชื่อมต่อกับ MRT สายสีน้ำเงินและแอร์พอร์ตลิงก์ไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวก
สำหรับสถานีที่เหลือ 7 สถานี คาดว่าจะเปิดภายในเดือนธันวาคมปีนี้ได้แก่ สถานีพลหโยธิน 59, สถานีสายหยุด,สถานีสะพานใหม่, สถานีโรงพยาบาลภูมิพล ,สถานีพิพิธภัณฑ์ทหารอากาศ ,สถานีแยกคปอ.และสถานีปลายทางคูคต หลังเปิดเดินรถไปแล้ว 9 สถานี ยืดการเดินทางโดยรถไฟฟ้า ข้ามแยกรถติดมหาโหดไปได้ กระทั่งสามารถ เดินทางจาก สถานีเคหะสมุทรปราการยาวไปถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ซึ่งจะเชื่อม ต่อสายสีชมพู ที่บีทีเอส อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขณะปริมาณผู้โดยสาร ทั้งระบบคาดว่าจะอยู่ที 1ล้านคนต่อเที่ยวต่อวัน(ช่วงปกติ)ขณะ ปัจจุบัน(ช่วงปกติไม่เกิดสถานการณ์โควิด) 7-8 แสนคนต่อเที่ยวต่อวัน แหล่งข่าวจากบีทีเอส กรุ๊ป ยืนยันว่า ปลายปีนี้ รถไฟฟ้าบีทีเอส จะเปิดให้บริการเต็มระบบ 60 สถานี ระยะทาง 69 กิโลเมตร โดยเพิ่มสถานี ศึกษาวิทยา สายสีลมอีก 1 สถานี ส่วนอัตราค่าโดยสาร ต้องรอ ครม. เคาะราคา ว่าเห็นชอบตามกระทรวงมหาดไทย และกทม.เสนอที่ราคา 65 บาทหรือไม่
เช่นเดียวกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสี ทองช่วง สถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสานระยะทางไม่เกิน2กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการ เดือนตุลาคม อัตราค่าโดยสารตลอดสาย 15 บาท เชื่อมการเดินทาง กับบีทีเอสสายสีเขียวที่ สถานีกรุงธนบุรี วิ่งเข้าสู่ใจกลางเมืองสร้างความคึกคักไม่น้อยให้กับคน ฝั่งคนที่ข้ามมา ช็อปปิ้งห้างยักษ์ไอคอนสยามริมน้ำเจ้าพระยาย่านเจริญนคร เขตคลองสาน
ขณะ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู ช่วงมีนบุรี-แคลาย มีความคืบหน้าก่อสร้างไปมาก แต่ ติดปัญหาการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ดังนั้นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ได้ ขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 9 เดือนและ 1 ปี ตามลำดับส่งผลให้ การเปิดให้บริการเดินรถ ทั้งสองเส้นทาง ต้องเลื่อนจากปี 2564 ไปเป็นปี 2565 แต่ทั้งนี้ รฟม.มีความพยายามเจรจากับบีทีเอสกรุ๊ปทยอยเปิดให้บริการบางช่วงที่พร้อมก่อนภายในปีหน้า
ส่วนสายสีส้ม ตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี การก่อสร้างเป็นไปตามแผนแต่ ต้องรอการก่อสร้างช่วงสายสีส้มตะวันตก และต้องได้ผู้รับสัมปทานเดินรถทั้งเส้นทาง ทำให้สายสีส้มตะวันออก ต้องรอเปิดให้บริการเดินรถ จากปี 2566 ไปปี 2567 เรียกว่าในอนาคตอันใกล้ รถไฟฟ้าจะแผ่ขยายแขนขาออกไปรับคนชานเมืองเข้าสู่ ตัวเมืองโดยไม่ต้องผจญกับปัญหารถติดอีกต่อไป
หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,584 วันที่ 18-20 มิถุนายน พ.ศ. 2563