"มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย" เฟส 2 ลดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล ฉบับเต็ม เช็กที่นี่

19 มิ.ย. 2563 | 12:24 น.

ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 2 สั่งสถาบันการเงิน "ลดดอกเบี้ย" สินเชื่อบุคคล ทั้งบัตรเคดิต บัตรกดเงินสด เช่าซื้อรถยนต์ 2-4 % พร้อมเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ปรับโครงสร้างหนี้

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ธปท. ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มาเป็นลำดับ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ นั้นจะทยอยครบกำหนด ธปท. จึงได้หารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง ออกมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

รณดล นุ่มนนท์

1.ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 – 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)

ประเภท

เพดานเดิม (% ต่อปี)

เพดานใหม่ (% ต่อปี)

1. บัตรเครดิต

18

16

2. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

 

 

 - วงเงินหมุนเวียน (Revolving loan) เช่น บัตรกดเงินสด

28

25

- ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment loan)

28

25

- จำนำทะเบียนรถ

28

24

 

2. เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)

\"มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย\" เฟส 2 ลดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล ฉบับเต็ม เช็กที่นี่

3.มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563) ขยายขอบเขตและระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และไม่เป็น NPLs ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีทางเลือกความช่วยเหลือ
ขั้นต่ำให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อ

เช่น การผ่อนชำระขั้นต่ำ การเปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นเป็นระยะยาว การลดค่างวด การเลื่อนชำระค่างวดหรือเงินต้น เป็นต้น และกำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกหนี้ เช่น เปรียบเทียบภาระหนี้เดิมและหนี้ใหม่ จำนวนหนี้และจำนวนงวดที่เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพิ่มจากการขอเลื่อนชำระหนี้ (รายละเอียดตามตารางแนบ)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลดดอกเบี้ยกู้กดดัน NIM ท่ามกลางหลายมาตรการช่วยเหลือลูกค้า

ลด "ดอกเบี้ย" พีโลน ทำปชช.เข้าถึงแหล่งเงินยาก-รายเล็กเสี่ยงปิดกิจการ

การช่วยเหลือตามมาตรการขั้นต่ำข้างต้นจะไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จึงไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และในกรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะชำระหนี้ก่อนกำหนด จะต้องไม่มีการคิดค่าเบี้ยปรับ (prepayment fee)

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ Call Center หรือส่งข้อความ SMS ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2563

\"มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย\" เฟส 2 ลดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล ฉบับเต็ม เช็กที่นี่

4.การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ เช่น โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะสั้นเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย และกรณีลูกหนี้ี่ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์

 

ธปท. เชื่อมั่นว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมระยะที่ 2 นี้ จะทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ลดภาระหนี้และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ ขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง และมีวิธีปฏิบัติต่อลูกหนี้ในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด


 

ตารางแสดงทางเลือกสำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และยังไม่เป็น NPLs

ประเภท

มาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ขั้นต่ำ

1. บัตรเครดิต

 

เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ทั้งนี้ การใช้วงเงินที่เหลืออยู่ให้ผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แต่เมื่อรวมกับยอดคงเหลือเดิมแล้วต้องไม่เกินวงเงินที่เคยอนุมัติ

 

**หมายเหตุ ยังคงลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ร้อยละ 5 ในปี 2563 - 2564 ร้อยละ 8 ในปี 2565 และร้อยละ 10 ในปี 2566

2. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีลักษณะวงเงินหมุนเวียน (revolving loan) เช่น บัตรกดเงินสด

 

(1) ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้ หรือ

(2) เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 22 ต่อปี ทั้งนี้ การใช้วงเงินที่เหลืออยู่ให้ผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แต่เมื่อรวมกับยอดคงเหลือเดิมแล้วต้องไม่เกินวงเงินที่เคยอนุมัติ

3. สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด (installment loan) และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

ลดค่างวด อย่างน้อยร้อยละ 30 ของค่างวดเดิม โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 22 ต่อปี

 

4. สินเชื่อเช่าซื้อ (ไม่จำกัดวงเงิน)

(1) เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ

(2) ลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้

5. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (ไม่จำกัดวงเงิน)

(1) เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ

(2) เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย หรือ

(3) ลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้   ที่

 

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย