อย่าลืมชม “ดาวหาง นีโอไวส์" ใกล้โลกสุด วันนี้

23 ก.ค. 2563 | 10:45 น.

ดาวหางใกล้โลกมาแล้ว ! พลาดครั้งนี้อาจต้องรออีกกว่า 6,000 ปี

ดาวหางใกล้โลกมาแล้ว ! พลาดครั้งนี้ต้องเสียใจเพราะอาจต้องรออีกกว่า 6,000 ปีที่จะมีโอกาสได้ชมปรากฏการณ์ “ดาวหางใกล้โลก” หรือ ที่มีชื่อเรียกว่า ดาวหาง นีโอไวส์ (NEOWISE) กันอีกครั้ง รายงานล่าสุดจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Astronomical Research Institute of Thailand (NARIT) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ว่า

 

วันนี้ (23 ก.ค. 63) ฟ้าดี NARIT ตั้งกล้อง ลุ้นส่องดาวหางนีโอไวส์ ในคืนใกล้โลกที่สุด ที่ AstroPark อ. แม่ริม เชียงใหม่ 18:00-21:00 น. เจอกันนน..

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

คืนนี้อย่าลืมชม “ดาวหางนีโอไวส์" ใกล้โลกที่สุด

ดาวหาง นีโอไวส์ (NEOWISE) ใกล้โลก ครั้งเดียวในรอบกว่า 6000 ปี

6,000ปี มีครั้งเดียวพรุ่งนี้ห้ามพลาด "ดาวหางใกล้โลก"

รู้จัก "ดาวหาง นีโอไวส์ (NEOWISE)" ก่อนโคจรใกล้โลกที่สุด 23 ก.ค.นี้

"ดาวหางนีโอไวส์" ดูอย่างไร -เวลาใด เห็นชัดสุด เช็กได้ที่นี่  

 

ทั้งนี้ สำหรับ ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์และผู้คนบนโลกมาตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ที่ต่างพากันติดตามและบันทึกภาพดาวหางดังกล่าวออกมาเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก โดยในคืนนี้นับเป็นช่วงที่ ดาวหางใกล้โลก ที่สุด อาจมีแสงจันทร์รบกวนบ้างเล็กน้อย สำหรับประเทศไทยซึ่งอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก บริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสังเกตการณ์ดาวหางดังกล่าว และหลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้

 

 

 

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว จากข้อมูลล่าสุดพบว่า โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร และจะเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร