วันนี้ (17 สิงหาคม 2563) นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม มั่นใจว่า การตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) หรือ "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ" จะแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานของกระทรวงและหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.เคาะตั้ง “ศบค.เศรษฐกิจ” 2ชุด “นายกฯ-ไพรินทร์” นั่งหัวโต๊ะ
ผ่าโครงสร้าง “ศบค.เศรษฐกิจ” นายกฯ ดึง "ไพรินทร์" ร่วมทัพ
จ่อเพิ่มอำนาจ "ศบค.เศรษฐกิจ" ชงวาระเข้าครม.ได้
จับตาตั้ง ‘ศบค.เศรษฐกิจ’ แก้เกมรุมทึ้งเก้าอี้รมต.
แต่เป็นการระดมความเห็น ความต้องการในระยะจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสถานการณ์ แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบในระยะกลางและระยะยาวด้วย
ทั้งยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังเป็นข้อเสนอจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง หรือ ภาคธุรกิจ โดยมองตรงกันว่า จะช่วยให้การทำงานด้านการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถมอบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบด้านมากขึ้น โดยศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จะมีประชุมนัดแรกในวันที่ 19 ส.ค. มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมจะมีการประเมินแนวโน้มของผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ พิจารณาข้อเสนอของกระทรวงต่างๆ รวมถึงภาคธุรกิจ เชื่อว่าจะได้เห็นทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้นในเวลาอันใกล้นี้
ส่วนการตั้งคณะกรรมการสร้างไทยไปด้วยกันนั้น นายกรัฐมนตรี ต้องการรับฟังข้อเสนอแนะในความต้องการของจังหวัด เพื่อเสนอถึงรัฐบาลโดยตรง โดยให้จังหวัดได้มีการประชุม ระดมความเห็นของทุกภาคส่วน จัดทำเป็นข้อเสนอในระยะเร่งด่วนถึงรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลจังหวัดนั้นๆ คอยติดตาม ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ผลัดดันให้การทำงานสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว และยืนยันว่า การทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยนั้น ไม่ซ้ำซ้อนกับกลไกรัฐที่มีอยู่ แต่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด