วันนี้ 12 พฤศจิกายน 2563 เป็นช่วงเวลาค่ำคืนที่เกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตก” ว่ากันว่า ฝนดาวตก คือ ดาวตกหลายดวงที่เหมือนกันออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้าบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย่าลืมคืนนี้เกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตก”
12 สิงหาคม คืนนี้ชม“ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์”
เตรียมชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืน วันแม่
การที่สะเก็ดดาวในธารเดียวกัน เคลื่อนที่ขนานกันและมีอัตราเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็นจึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันในท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง
ความคืบหน้า “ฝนดาวตก” จะเกิดปรากฏการณ์ในค่ำคืนนี้ทาง เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จนทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ไปจนถึงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ของปีหน้า จึงอยากชวนมาถ่ายทางช้างเผือกส่งท้ายร่วมกัน
การสังเกตแนวใจกลางทางช้างเผือก
สำหรับทางช้างเผือกในช่วงเดือนพฤศจิกายน นี้สามารถสังเกตเห็นได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปจึงถึงช่วงประมาณสามทุ่ม ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือกก็จะลับขอบฟ้าเหลือแต่ส่วนที่ไม่ค่อยสว่างให้เห็นได้แบบจางๆเท่านั้น
ทางช้างเผือกนั้นเป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดใหญ่เป็นแนวฝ้าจางๆ คล้ายเมฆที่พาดผ่านกลางท้องฟ้าจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ถึงแม้เราจะสามารถสังเกตเห็นได้ตลอดทั้งปี แต่บริเวณที่นิยมถ่ายภาพและเป็นจุดที่สวยงามที่สุดคือบริเวณตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก เป็นส่วนที่สว่างที่สุดและน่าตื่นตามากที่สุด
ดังนั้นในหนึ่งปีจึงมีช่วงเวลาที่สามารถสังเกตเห็นแนวใจกลางได้ไม่ครบทุกเดือน เนื่องจากช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึกลางเดือนกุมภาพันธ์ ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ใกล้บริเวณใจกลางทางช้างเผือกในกลุ่มดาวคนยิงธนูกับแมงป่อง ทำให้เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นใจกลางทางช้างเผือกได้เพราะแสงดวงอาทิตย์สว่างรบกวน
สำหรับปรากฏการณ์ #ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ (Northern Taurid meteor shower) หรือ #ฝนดาวตกกลุ่มดาววัว มีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 5 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) สังเกตเห็นได้ทางด้านทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 19:00 น. เป็นต้นไป เห็นได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ ตลอดทั้งคืน
“ฝนดาวตกทอริดส์” เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นช่วงวันที่ 20 ตุลาคม - 10 ธันวาคม ของทุกปี เกิดจากเศษฝุ่นของดาวหาง 2 พี เอ็นเก้ (2P/Encke) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหาง เมื่อโลกโคจรตัดผ่านสายธารฝุ่นที่เป็นเศษซากของดาวหางดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศเกิดการลุกไหม้ เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า
สำหรับใครที่สนใจชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก ควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน และสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง