“ซีพี”เล็งส่งทีมอิตาลีพลิกโฉม“แอร์พอร์ตลิงก์"หลังรับโอน

26 ธ.ค. 2563 | 04:15 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ธ.ค. 2563 | 06:13 น.

รฟท.-บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ร.ฟ.ฟ.ท.) เตรียมโอนการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เดดไลน์ 24 ต.ค.64 ส่วน “ซีพี” ส่งผู้เชี่ยวชาญอิตาลีดูงานเตรียมรับไม้ต่อแบบไม่มีสะดุด

 

 

เฟซบุ๊กรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภาโพสต์ข้อความ ว่าบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ร.ฟ.ฟ.ท.)  บริษัทลูกการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมโอนการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์  ให้กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด หรือ กลุ่มซีพี เครือเจริญโภคภัณฑ์  ภายในวันที่ 24  ตุลาคม 2564 ครบ2ปีตามสัญญา

 

 

“ซีพี”เล็งส่งทีมอิตาลีพลิกโฉม“แอร์พอร์ตลิงก์\"หลังรับโอน

โดยกลุ่มซีพี เตรียมพร้อมจ่ายเงินจำนวน 10,671ล้านบาท(หนึ่งหมื่นหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาท) เพื่อขอใช้สิทธิ์บริหารจัดการ ขณะเดียวกันกลุ่มซีพี เตรียมส่งผู้เชี่ยวชาญอิตาลีดูงานเตรียมรับไม้ต่อแบบไม่มีสะดุด ล่าสุด บริษัท ทางรถไฟแห่งชาติอิตาลี ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษารายละเอียดแล้วหลังผ่านการกักตัว 14วันในประเทศไทย  โดยคาดว่า เมื่อทางกลุ่มซีพีและพันธมิตร เข้ามารับช่วงบริหารจัดการต่อไป จะต้องมีการปรับปรุงรายละเอียดต่างๆ มากมาย เช่น

 

1. ปรับปรุงสถานี และพื้นที่โดยรอบ เพื่อเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

2. ปรับปรุงชานชาลาสถานีให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และระบบรถไฟความเร็วสูง

3. การจัดซื้อขบวนรถใหม่ และซ่อมบำรุงรถเก่า ให้สามารถใช้งานได้ตลอดระยะเวลาโครงการร่วมทุน 50 ปี

 

 

 

 

ส่วนพนักงาน และบุคลากรของ ร.ฟ.ฟ.ท. ทั้งหมดจะย้ายไปบริหารจัดการรถไฟชานเมืองสายสีแดงแทน อย่างไรก็ตาม เพจ ของบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด ได้แต่หวังว่า เมื่อเอกชนเข้ามาบริหารจัดการแทน จะสามารถจัดการปัญหาต่างๆ และสามารถเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้โดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ได้มากกว่าเดิม และยังมีหมายเหตุ ว่า "พนักงานและบุคลากรของ ร.ฟ.ฟ.ท. ไม่มีใครอยากทำงานกับเอกชนบ้างเลยหรือ"

 

สำหรับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์มีเส้นทางโครงการรวมระยะทางประมาณ 28.6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางยกระดับขนานไปตามเนวเส้นทางยาว ซึ่งจะเป็นโครงการแบบโมเนเรล หรือ รถไฟฟ้ารางเดียว (สายสีชมพู) โครงการระบบรถไฟฟ้าด่วนสุวรรณภูมิโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุววรภูมินั้น ผลิตโดยบริษัทซีเมนส์มีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร / ชั่วโมง มี8สถานี ได้แก่1.สถานีพญาไท เชื่อมสายสีแดงอ่อน-สายสีเขียว2 สถานีราชปรารภ เชื่อมสายสีส้ม  3สถานีมักกะสันเชื่อมสายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี สายสีแดงอ่อนสถานีมักกะสันเรือคลองแสนแสบ 4.รามคำแหง เชื่อมสายสีแดงอ่อนสถานีรามคำแหง เรือคลองแสนแสบ  5.สถานีหัวหมาก เชื่อม สายสีส้ม สายสีแดงอ่อน6.สถานีทับช้างเชื่อมสายสีแดงอ่อน 7.สถานีลาดกระบังเชื่อม สายสีแดงอ่อน และ8สถานีปลายทางสุวรรณภูมิ เชื่อมสายสีฟ้าอ่อน