รฟม.แจง ค่าโดยสาร รถไฟฟ้า”สายสีส้ม “ แพง พอกับสายสีเขียว

25 ม.ค. 2564 | 02:59 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ม.ค. 2564 | 03:20 น.

รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีส้ม หลัง Facebook ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ที่ระบุหัวข้อว่า “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียว  ที่ กระทรวงคมนาคม แย้งว่าแพง” นั้น

 

 

 

 

 ตามที่ ปรากฎเป็นข่าวเผยแพร่บนสื่อสาธารณะหลายแห่ง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 อ้างอิงถึงข้อความใน Facebook ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ที่ระบุหัวข้อว่า “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียว  ที่ กระทรวงคมนาคม แย้งว่าแพง” นั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ดังนี้

 

1) เอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (Request for Proposal: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ระบุอัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 เริ่มต้นที่ 17 บาท คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 3 – 4 บาท/สถานี โดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 62 บาท เมื่อผู้โดยสารเดินทางตั้งแต่ 12 สถานี ขึ้นไป ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ใช้ในการจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ (รายงาน PPP) ของ รฟม. ที่มีสมมติฐานกำหนดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในปี พ.ศ. 2566 - 2567 ซึ่งคำนวณตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization

 

2) การที่เอกสาร RFP ระบุอัตราค่าโดยสารดังข้างต้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเอกชนทุกรายใช้อ้างอิงในการประเมินรายได้ของเอกชนเพื่อจัดทำข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการฯ ด้วยสมมติฐานเดียวกัน ประกอบกับในขั้นตอนการประเมินข้อเสนอ รฟม. จะสามารถประเมินรายละเอียดข้อเสนอของเอกชนแต่ละรายบนบรรทัดฐานเดียวกันได้อย่างชัดเจน ดังนั้นอัตราค่าโดยสารข้างต้นจึงไม่ใช่อัตราค่าโดยสารที่ รฟม. จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเปิดบริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตามที่ปรากฏเป็นข่าว

รฟม.แจง ค่าโดยสาร รถไฟฟ้า”สายสีส้ม “ แพง พอกับสายสีเขียว

 

 

 

เนื่องจาก รฟม. ได้รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคมให้เจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดในการปรับลดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และประชาชนยอมรับได้ (Willingness to pay) ทั้งนี้ รฟม. คาดการณ์อัตราค่าโดยสารเมื่อเปิดให้บริการโครงการสายสีส้มส่วนตะวันออก ในปี พ.ศ. 2567 (โดยใช้สมมติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี) จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 15 บาท และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 45 บาท

3) เมื่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ในขั้นตอนการประเมินข้อเสนอของเอกชนแล้วเสร็จ รฟม. จะเจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดเพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นพื้นฐานอัตราเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีเหลือง ที่อ้างอิงตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ปรับอัตราโดยอ้างอิงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI Non-food & beverages) ตามที่เกิดขึ้นจริง และเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้โดยสารเดินทางข้ามสายในโครงข่ายรถไฟฟ้าของ รฟม. ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มีเจตนารมณ์ให้โครงการรถไฟฟ้าของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน

 

อนึ่ง รฟม. ขอเรียนว่าในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น มีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องหลายมิติที่สมควรจะต้องนำมาประกอบในการพิจารณาด้วย ดังนี้

(1) การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นและอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่เหมาะสม มีปัจจัยสำคัญประกอบ การพิจารณา ได้แก่ พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร ระยะเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสาร ความเต็มใจในการจ่ายค่าโดยสารของประชาชน (Willingness to pay) เป็นต้น ดังนั้นกรณีที่กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดที่ 104 บาท โดยพิจารณาเทียบกับระยะทาง 84 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 1.23 บาท/กิโลเมตร จึงอาจไม่ได้สะท้อนค่าโดยสารจริงที่ประชาชนพึงพอใจในการจ่ายค่าเดินทาง เนื่องจากไม่ได้นำปัจจัยด้านพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมาประกอบการพิจารณาด้วย

 

(2) ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นบริการสาธารณะ ดังนั้นอัตราค่าโดยสารจึงควรเป็นอัตราที่เหมาะสมและประชาชนยอมรับได้ นอกจากนี้กิจการรถไฟฟ้าไม่ใช่กิจการที่ภาครัฐลงทุนโดยโครงการต้องมีความคุ้มทุน หรือเป็นกิจการที่ภาครัฐมุ่งทำกำไรเป็นหลัก จึงสมควรที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารอย่างรอบคอบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดแล้ว ยังจะสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่หนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ด้วย

 

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

 

 

3) เมื่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ในขั้นตอนการประเมินข้อเสนอของเอกชนแล้วเสร็จ รฟม. จะเจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดเพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นพื้นฐานอัตราเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีเหลือง ที่อ้างอิงตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ปรับอัตราโดยอ้างอิงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI Non-food & beverages) ตามที่เกิดขึ้นจริง และเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้โดยสารเดินทางข้ามสายในโครงข่ายรถไฟฟ้าของ รฟม.

 

ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มีเจตนารมณ์ให้โครงการรถไฟฟ้าของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน อนึ่ง รฟม. ขอเรียนว่าในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น มีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องหลายมิติที่สมควรจะต้องนำมาประกอบในการพิจารณาด้วย ดังนี้

 

(1) การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นและอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่เหมาะสม มีปัจจัยสำคัญประกอบ การพิจารณา ได้แก่ พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร ระยะเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสาร ความเต็มใจในการจ่ายค่าโดยสารของประชาชน (Willingness to pay) เป็นต้น ดังนั้นกรณีที่กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดที่ 104 บาท โดยพิจารณาเทียบกับระยะทาง 84 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 1.23 บาท/กิโลเมตร จึงอาจไม่ได้สะท้อนค่าโดยสารจริงที่ประชาชนพึงพอใจในการจ่ายค่าเดินทาง เนื่องจากไม่ได้นำปัจจัยด้านพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมาประกอบการพิจารณาด้วย

 

(2) ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นบริการสาธารณะ ดังนั้นอัตราค่าโดยสารจึงควรเป็นอัตราที่เหมาะสมและประชาชนยอมรับได้ นอกจากนี้กิจการรถไฟฟ้าไม่ใช่กิจการที่ภาครัฐลงทุนโดยโครงการต้องมีความคุ้มทุน หรือเป็นกิจการที่ภาครัฐมุ่งทำกำไรเป็นหลัก จึงสมควรที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารอย่างรอบคอบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดแล้ว ยังจะสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่หนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ด้วย

 

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอกับสายสีเขียวที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง

คมนาคมVS กทม.. ชักเย่อค่าโดยสาร “สายสีเขียว” ศึกนี้อีกนาน

"สามารถ"จี้กทม. ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่า 65 บาท ได้มั้ย?

กทม.ยื้อค่าตั๋ว "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" 104บาท

ฉีก! ทีโออาร์ ซ่อนเงื่อน รถไฟฟ้า "สายสีส้ม"