นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง ออก พ.ร.ก.กู้เงิน หรือ พระราชกำหนดเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ เพิ่มในวงเงิน 7 แสนล้านบาท นั้นต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก คือส่วนที่กระตุ้นและเยียวยา สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด ทั้งในส่วนของประชาชน ที่ตกงาน หรือหยุดงาน จากมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งมาในรูปแบบของมาตรการต่างๆไม่ว่าจะเป็น คนละครึ่ง เราชนะ เรารักกัน และผู้ประกอบการที่ต้องปิดกิจการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ ซึ่งถือว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ระดับหนึ่ง
อีกส่วนคือการฟื้นฟู หลักการแพร่ระบาดโควิดและมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 50-70% ของจำนวนประชากร ซึ่งต้องมีงบฟื้นฟู ซึ่งงบฟื้นฟูใน 7 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลแบ่งมาเป็นงบฟื้นฟู 2.7แสนล้านบาทนั้นถือว่าน้อยไป เพราะผู้ที่ต้องการเยียวยา โดยเฉพาะธุรกิจล้มหายไปจำนวนมาก และเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยากเพราะแม้ว่ารัฐจะมีเงินแต่สถาบันการเงินอาจจะไม่ให้กู้ ซึ่งตรงนี้รัฐต้องหาวิธีให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้ได้มากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัพเดท "พรก.กู้เงิน" 7แสนล้าน "เยียวยา-ฟื้นฟู-คุมระบาด" โควิดระลอกใหม่
ส่องงบฯ "เยียวยาโควิด" พรก.เงินกู้1ล้านล้าน ใช้ไปแล้วกี่บาท