ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

09 เม.ย. 2563 | 03:15 น.
อัปเดตล่าสุด :09 เม.ย. 2563 | 12:12 น.

สกัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเกิดขึ้นครั้งแรกในไทย “ กรมปศุสัตว์ผนึกกรมอุทยานฯ​” ระงับนำเข้า-ส่งออกสัตว์วงศ์ม้า-ยีราฟ-ม้าลาย ทันที

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African horse plagueหรือ African horse sickness) ในท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กรมปศุสัตว์จึงได้รายงานไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวสามารถแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางได้

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

โดยมีสาเหตุจากการนาสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคหรือซากสัตว์ซึ่งป่วยหรือตายด้วยโรคระบาดดังกล่าวไปยังท้องที่ต่าง ๆ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวมีโอกาสแพร่กระจาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงม้า ลา ล่อ และอูฐในประเทศ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา6 และมาตรา31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

ข้อ 1 ให้ชะลอการนำเข้า ส่งออก หรือนาผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ประเภทม้า ลา ล่อ และอูฐ ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ​

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

นายสัตวแพทย์สรวิศ  กล่าวอีกว่า ในวันเดียวกันนายธัญญา​ เนติธรรมกุล​ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืช​ ลงนามในประกาศ​กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืช​ เรื่อง​ กำหนดชนิดสัตว์ป่า​ ซากสัตว์ป่า​ และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า​ ที่ไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้าส่งออกโดยที่มีการระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า​ (African​ Horse​ Sickness; ACHS)​ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา​ ทำให้ม้าในฟาร์มเลี้ยงที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวล้มตายเป็นจำนวนมาก​

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

โดยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ​ ยืนยันว่าสาเหตุมาจากโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า​ เกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิดไม่มีเปลือกหุ้มในวงศ์​ Reoviridae สกุล​ Orbivirus สัตว์ที่ไวต่อโรคนี้​ ได้แก่​ ม้า​ ลา​ ล่อ​ และม้าลาย​ เชื้อไวรัสจะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยรุนแรงและตาย​ โดยมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสซึ่งการระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและยังไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัดต่อการเกิดโรคดังกล่าว

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืช​ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า​ พ. ศ. 2562​ ประกอบกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ ลงวันที่ 12 เมษายน พ. ศ. 2560 เรื่อง​ กำหนดชนิดสัตว์ป่าซากของสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกซึ่งออกตามความในมาตรา 23 วรรคหนึ่ง​ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า​ พ.ศ. 2535 กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืช​ จะไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้าส่งออกซึ่งสัตว์ป่า​ ซากสัตว์ป่า​ และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ ดังกล่าว​ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง​ ดังนี้

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

กลุ่มที่ 1 ชนิดสัตว์ป่า​ ซากของสัตว์ป่า​ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า​ ตามบัญชีท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์​ (CITES)​ วงศ์ม้า​ (Family)​ ลำดับที่ 257 ถึงลำดับที่ 265

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

กลุ่มที่ 2 ชนิดสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองและไม่ใช่สัตว์ป่าบัญชีท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ไซเตส​ ​(CITES)​ สัตว์ป่าจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม​ (MAMMALS)​

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด

ลำดับที่ 6 ยีราฟทุกชนิดในสกุล​ Giraffa (Giraffa​ spp.)​,ลำดับที่ 7 ม้าลายเบอร์เซลล์​ (Equus burchelli)​ และลำดับที่ 8 ม้าลายควากกา​ (

อนึ่ง ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์

ไทยระงับนำเข้า-ส่งออกม้า-ยีราฟ-ม้าลาย หลังกาฬโรคระบาด