มีข่าวแจ้งมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า ทางรัฐบาลประเทศเวียดนามได้อนุมัติทดลองส่งออกไม่เกิน 4 แสนตันต่อเดือนนั้น
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เชื่อว่าความต้องการข้าวคงมาที่ประเทศไทย จะเป็นผลดีทางด้านราคา จะส่งผลทำให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศดีขึ้น เป็นผลมาจากไวรัสโรคระบาดโควิด-19 แต่ความจริงข้าวทั่วโลกมีเพียงพอ เพราะผลผลิตของจีนและอินเดียก็ดี เพียงแต่ว่าช่วงนี้อินเดียส่งออกไม่ได้เพราะติดล็อกดาวน์ทั่วประเทศ (25 มีนาคม)มีผลบังคับเป็นเวลา 30 วัน ทำให้ขนส่งต่างๆ ช้าลง และแรงงานไม่มี เพราะกลับบ้าน
กรณีนี้คล้ายกับเมืองไทยหลังรัฐบาลว่าจะล็อกดาวน์ทำให้มีคนเดินทางกลับบ้าน ซึ่งคนอินเดียเดินทางเท้ากลับบ้าน เพราะฐานะยากจนมาก และแรงงานมีมากกว่าล้านล้านคน แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วข้อดีในการล็อกดาวน์ของไทยทำได้ดีกว่าก็คือ ค่อยๆทำ
“แต่ตอนนี้ก็เองบ้านเราก็มีปัญหาท่าเรือใหญ่บริเวณเกาะสีชัง มีปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่พอ จะกลับมาก็กลับไม่ได้ทำให้ขนส่งไม่ใช่เฉพาะสินค้าข้าว ยังมีมันสำปะหลัง และน้ำตาลทราย ก็ตกอยู่ในชะตาเดียวกันก็คือ มีปัญหาเดียวกันหมด”
ประกอบกับมีเคอร์ฟิวส์การขนส่งในประเทศก็มีปัญหาก็ช้าลง ถึงจะบอกว่ามีการผ่อนปรนได้ แต่ว่าผู้ว่าฯ จังหวัดก็มีอำนาจที่จะออกกฎกติกาที่ไม่เหมือนกันทุกจังหวัด เพราะฉะนั้นการขนส่งก็มีปัญหาทำมีผลทำให้การส่งออกช้าลงตามไปด้วย นี่คือปัญหาที่เห็นในปัจจุบันนี้
นายเจริญ กล่าววว่า ส่วนประเทศเวียดนาม 2-3 เดือนแรก ส่งออกจำนวนมาก เพราะข้าวไทยราคาสูงกว่า คู่ค้าก็หนีหันไปซื้อแทน ปรากฏว่าว่าเมื่อขายมากมากเกินไปก็มีผลเสีย เพราะทำให้ราคาข้าวในประเทศเวียดนามปรับตัวสูงขึ้นทันที จึงผลทำให้ผู้ส่งออกเวียดนามขาดทุนป่นปี้มหาศาล แย่งซื้อข้าวขาย
ยกตัวอย่าง กรณีข้าวขาวชนิด 5% ตั้งราคาขาย 340-350 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อส่งออกไปจำนวนมาก ก็ส่งผลทำให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้น เมื่อส่งมอบข้าวจริงราคาข้าวขยับขึ้นไป 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็นต้น นี่เป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เป็นส่วนหนึ่งไม่สามารถที่จะรักษาสัญญาในการส่งมอบข้าวได้ จึงเป็นที่มาของรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาดูแลและกำกับในการซื้อขายข้าวเปลือกส่งออกใหม่
“ปัจจุบันเวียดนามกวาดเกลี้ยงเลยขายข้าวไปที่ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เพราะเนื่องจากไทยเป็นข้าวชนิดแข็ง ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ประกอบกับไทยเจอปัญหาภัยแล้ง ปกติข้าวขาวจะเกี่ยวเดือนมีนาคม-เมษายน ข้าวควรจะมีมาก แต่ไม่ได้มาก และจากที่ชาวนาหันไปปลูกข้าวหอมพวง และข้าวปทุมธานีมากขึ้น
เพราะมีผลผลิตต่อไร่สูง และเกี่ยวเร็ว ได้ราคาเพราะในประเทศมีความต้องการมาก เพราะนิ่ม ส่งผลทำให้ข้าวขาวมีปริมาณการปลูกลดน้อยลง ราคาข้าวก็ขยับเพิ่ม จึงทำให้ไทยขายแพงกว่าเวียดนาม จากเดิม 50-60 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ยิ่งมาช่วงหลังราคายิ่งขยับทิ้งห่างกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน"
ส่งผลทำให้การส่งออกข้าวน้อยลงกว่า 40% ปริมาณรวม 2 เดือนส่งออกกว่า 9 แสนตัน จากปกติส่งออก 2 เดือนนี้อยู่กว่า 1.6 ล้านตัน แต่ตอนนี้ไทยเริ่มมีสัญญาณส่งออกมากขึ้นเนื่องจากประเทศอื่นๆ เริ่มมีปัญหา แต่ปริมาณก็ยังไม่ใช่ว่าจะมากเกินไป เมื่อดูตารางส่งออก 3 เดือน เปรียบเทียบกับปีที่แล้วก็ยังน้อยกว่าอีก
สำหรับภาวะราคาข้าวส่งออกของไทยในช่วงนี้ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 130-210 ดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากอุปทานข้าวในประเทศตึงตัวจากภาวะภัยแล้งที่ส่งผลให้ผลผลิตข้าวมีปริมาณลดลง
ประกอบกับตลาดต่างประเทศมีความต้องการข้าวมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 สมาคมฯประกาศราคาข้าวขาว 5% ที่ 564 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ขณะที่เว็บไซต์ Oryza.com รายงานราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนาม อินเดีย และปากีสถานที่ 428-432, 350-354 และ 383-387 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ