ความคืบหน้าการจ่ายเงิน “เยียวยาเกษตรกร” ในรอบที่ 3 ภายหลังคณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์ได้สรุปผลจำนวนผู้อุทธรณ์และตรวจสอบข้อมูล จำนวนผู้อุทธรณ์ 192,512 ราย แต่ล่าสุด กระทรวงเกษตรฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ซ้ำซ้อนของผู้อุทธรณ์แล้ว พบว่า คงเหลือจำนวน 189,663 ราย (ข้อมูล ณ 29 มิ.ย. 63) โดยไม่ซ้ำเลขบัตรประชาชน และ ได้จำแนกสถานะของผลการอุทธรณ์ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ
1.กลุ่มผู้อุทธรณ์ที่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร
2.กลุ่มผู้อุทธรณ์ที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร
3.กลุ่มผู้อุทธรณ์ที่ต้องรอผลการพิจารณา จำนวน 7,297 ราย
ที่สำคัญ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมายืนยันว่า “ กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งดำเนินการพิจารณาการอุทธรณ์โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเร็วที่สุด เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะทยอยโอนเงินรอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป” ซึ่ง “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รายงานไปก่อนหน้านี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"เยียวยาเกษตรกร" ธ.ก.ส.เผยยอดโอนเงินวันหวยออก 7.3 หมื่นล้าน
“เยียวยาเกษตรกร” กระทรวงเกษตรฯเคาะแล้วกรณีอุทธรณ์รอบ 3 เกือบ 2แสนราย
“เยียวยาเกษตรกร” กระทรวงเกษตรฯเคาะแล้วกรณีอุทธรณ์รอบ 3 เกือบ 2แสนราย
อย่างไรก็ตามในเดือนกรกฎาคม 2563 ธ.ก.ส.ได้แจกแจงรายละเอียดแผนการจ่ายเงินให้เกษตรกรตามโอนเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เดือนกรกฎาคม) โดยมีกำหนดโอนเงินเยียวยาเกษตรกร รายละเอียดมีดังนี้
1.วันที่ 15 ก.ค.63 โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
2. วันที่ 16 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
3.วันที่ 17 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
4. วันที่ 18 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
5. วันที่ 18 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
6.วันที่ 19 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
7. วันที่ 20 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
8. วันที่ 21 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
9. วันที่ 22 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 0.596 ล้านราย
นอกจากนี้แล้ว เมื่อวานนี้ 1 ก.ค.63 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ไม่ได้จ่ายเงินเยียวยาก็ตาม แต่ได้สรุปตัวเลขโอนเงิน เยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท (3 เดือน) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้