นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (SUTRHE) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต ว่า ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าโครงการฯ เบื้องต้นอยู่ระหว่างการศึกษาแผนการพัฒนาเมืองควบคู่โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งให้มีแนวทางการเดินรถฟีดเดอร์ เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาโมเดลของประเทศฝรั่งเศสทั้งรูปแบบการบริหารจัดการในการพัฒนาเมืองและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในเมืองให้สะดวกมากขึ้น หลังจากนั้นนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งถัดไป
อ่านข่าว ลุยสร้างแทรมเชียงใหม่ ค่าโดยสาร 14บาท
อ่านข่าว เตรียมประมูลรถไฟแทรมโคราช
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนเห็นด้วยที่จะพัฒนาเมืองโดยนำรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตเข้ามา เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกันเสียงจากประชาชนเสนอให้มีแนวเส้นทางรถฟีดเดอร์เชื่อมต่อเพื่อเดินทางได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้มีข้อเรียกร้องให้รถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตเดินรถบนถนน ไม่ควรเดินรถแบบลอยฟ้า เพราะต้องการให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต
“หากมีการเดินรถแทรมภูเก็ตแล้ว ไม่ควรมีพื้นที่จอดรถบริเวณ 2 ข้างทางริมถนน เพราะจะทำให้ช่องทางจราจรบริเวณทางเท้าลดลง โดยประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้าเมืองสามารถจอดรถบริเวณพื้นที่นอกเมืองและเดินทางโดยแทรมเข้ามาได้ โดยจะนำโมเดลนี้เสนอต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งถัดไป ในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้”ริ่มรงการฯสะดุด ม่จำเป้นที่ต้องขับรถเข้ามาในเมือง พอไม่มีรถเข้ามาในเมื
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานฯ – ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร โดยเริ่มจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวงหมายเลข 4031 (แยกศาลาแดง-แยกหมากปรก) เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4036 (แยกเหนือคลอง-แหลมกรวด) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) เพื่อเข้าเมืองภูเก็ต จากนั้นผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ข้ามสะพานสารสิน มุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าเรือฉลอง
ทั้งนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดโครงสร้างองค์กรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตเพิ่มเติม ทั้งด้านการพัฒนาเมืองและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่พร้อมกัน เพื่อไม่ให้โครงการฯ สะดุด คาดว่าจะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตในรูปแบบการลงทุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ภายในปี 2564