วันที่ 3 พ.ย. น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ว่า ครม. อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 วงเงิน 10,042 ล้านบาท เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ครอบคลุมเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1.8 ล้านราย พื้นที่ปลูกยางพารากว่า 18 ล้านไร่ ดังนี้
ประกันรายได้ยาง 3 ชนิด
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ ดังนี้
เงื่อนไขเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาโครงการ
ทั้งนี้ ราคายางยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในช่วงที่ผ่านมา ขยับเกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย ซึ่งรัฐบาลจะพยายามรักษาระดับราคายางพาราให้อยู่ในระดับนี้ต่อไป
นอกจากนี้ ครม. ยังได้อนุมัติ 4 โครงการคู่ขนานตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2563 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรคโควิด-19 และช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางขายไม้ยางพาราได้ในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงสนับสนุนการลดพื้นที่ปลูกยางพารา โดยธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี แต่ไม่เกิน 600 ล้านบาท และมีค่าบริหารจัดการโครงการ 4 ล้านบาท
ส่วนเป้าหมายของโครงการมีดังนี้ (1)ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ร้อยละ 80 (2)กระตุ้นการโค่นยาง จำนวน 400,000 ไร่ และดูดซับไม้ยางจากการโค่น จำนวน 12 ล้านตัน และ (3)ราคาไม้ยางที่คาดหวังเฉลี่ย 1,300 บาทต่อตัน ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2565
2.โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง เป็นการขยายเวลาชำระคืนเงินกู้ทั้งสองโครงการให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดย
(1) ขยายเวลาชำระคืนเงินกู้ออกไปเป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จากเดิมวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 โดยให้กระทรวงการคลังขยายระยะเวลาค้ำประกันเงินกู้กับ ธ.ก.ส. ออกไปและยกเว้นค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันเงินกู้ พร้อมชดเชยต้นทุนเงินในอัตรา FDR+1
(2)นำเงินจากการระบายยางในสต็อกและของบประมาณชดเชยการขาดทุนชำระคืนเงินกู้ ธ.ก.ส. วงเงินรวมทั้งสองโครงการ จำนวน 9,955.32 ล้านบาท และ (3) ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัย ค่าจ้างผลิตยาง และอื่น ๆ รวม 898.76 ล้านบาท
3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (วงเงินเดิม) วงเงินรวม 25,000ล้านบาท เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
(1) ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโดยธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ (สถาบันการเงินเฉพาะกิจ) ได้ทุกธนาคาร จากเดิม เฉพาะธนาคารพาณิชย์
(2) ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับสินเชื่อทุก 1ล้านบาท จะต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศเป็น 2 ตันต่อปี ในปีการผลิต 2563 เดิมที่กำหนดในปีที่ 1 - 2 ของการลงทุน ต้องเพิ่มเป็น 2 ตันต่อปี ส่วนปีที่ 3 เป็น 4 ตันต่อปี) และ
(3) ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ตรวจสอบการใช้ยางของผู้ประกอบการเป็นรายปี ในปีการผลิต 2563 จากเดิมที่กำหนดเป็นรายเดือน โดยใช้วงเงินเดิมของโครงการ ซึ่งที่ผ่านมาได้อนุมัติสินเชื่อให้ผู้ประกอบการไปแล้ว 14,038.20 ล้านบาท วงเงินโครงการคงเหลือ 10,961.80 ล้านบาท
4.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เป็นการเพิ่มกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการยาง ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยใช้วงเงินเดิมของโครงการ วงเงิน 20,000 ล้านบาท ซึ่งกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตของฤดูกาลใหม่เป็นรายเดือน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในตลาด
หากไม่มีการซื้อยางก็จะไม่ได้รับการชดเชยในเดือนนั้น โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 – ธันวาคม 2564 ส่วนกิจกรรมที่มีอยู่เดิมของโครงการ คือ ผู้เข้าร่วมจะต้องมีสต็อกยางเพิ่มขึ้นมากกว่าสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี หากเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจพบว่ามีปริมาณสต็อกน้อยกว่าหรือเท่ากับสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี จะไม่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี จากรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 4 ราย อนุมัติวงเงินสินเชื่อ 2,410 ล้านบาท มีปริมาณที่จัดเก็บตามโครงการ 75,692 ตัน จากเป้าหมาย 350,000 ตัน