“ทุเรียนใต้” ราคาหน้าสวนพุ่ง 170 บาท/กก.

10 ธ.ค. 2563 | 11:39 น.

นายกฯ ทุเรียน ยิ้มแก้มปริ พ่อค้า-ล้ง แย่งซื้อ ดันราคาหน้าสวนพุ่งแรง 170 บาท/กก. ทุบสถิติใหม่ เหตุผลผลิตน้อย  พลอยลาก ”เงาะโรงเรียน” ขายดีด้วย หน้าสวนขายกิโลฯละ 100 บาท ฟันธง เป็นปีทอง ต่อเนื่อง

ฉัตรกมล มุ่งพยาบาล

 

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงสถานการณ์  ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2563 ราคาหน้าสวน 170 บาท/กิโลกรัม ทุบสถิติราคาใหม่ “พายุ” ที่เข้าไม่ได้มีผลกระทบต่อราคา คาดว่าความต้องการตลาดยังดีต่อเนื่องจากในขณะนี้ผลผลิตมีน้อยเหลือไม่ถึง7%  จากผลผลิตรวม 5-6 แสนตัน ของภาคใต้ ถือว่าปีนี่จบแล้ว เป็นเรื่องกลไกตลาด แต่ว่าราคาของปีนี้แปลกตรงที่ว่าดีกว่าปีที่แล้วมาก และมากกว่าทุกปี แม้ว่าพื้นที่และผลผลิตจะปลูกกันมากก็จริง แต่ว่าพ่อค้าล้งก็มากกว่าทุกปี ยกตัวอย่างในปี 2562 มีล้งแค่ 200-300 ราย แต่ปี 2563 มีกว่า 500 ราย จึงทำให้ความต้องการมากกว่าผลผลิต จึงส่งผลทำให้ราคาสูงดีต่อเนื่อง

 

แต่มีโจทย์ที่น่าวิเคราะห์ปัจจัยที่เหนือการควบคุม ก็คือ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นอาชีพอาชีพที่ถูกเลือก แล้วเพราะไปได้ในช่วงที่เกิดวิกฤติที่รอด ต่างจากสินค้าเกษตรตัวอื่น และในอนาคต 3-5 ปี ข้างหน้า ก็มีโอกาสที่จะราคาปรับลดลง เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะมีการปลูกกันมาก แต่การดำรงอยู่ของผลไม้ตัวนี้ ในส่วนของทุเรียน ก็มีเสน่ห์ เรื่องของจุดวิกฤติ ต่างจากพืชอื่น  หรือ สัตว์ เช่น เลี้ยงไก่ไข่ แล้วจะได้ไข่ เป็นต้น แต่บางทีเมื่อปลูกไปแล้ว 3-5 ปี ยังไม่ได้ให้ผลผลิตเลยก็ตาย อย่างช่วงอายุ รุ่น 3-5 ปี หากเจอน้ำขัง 1 สัปดาห์ หรือ 10 วัน  ยืนต้นตายไปเยอะ หากสิ้นปีนี้อุณหภูมิติดลบแถว 2-3 องศา โซนอีสานเหนือ และภาคเหนือล่าง/บน อาจจะทำให้ทุเรียนตาย ได้ แล้วอย่าลืมว่าใน 1-5 ปี ปลูกทุเรียนแล้วไม่มีรายได้ จะทำอย่างไร

 

นายฉัตรกมล กล่าวว่า ส่วนปีหน้าในภาพรวมของทุเรียนทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ยังถือว่าเป็นปีทอง ราคาหน้าสวนคาดว่าไม่น่าที่จะต่ำกว่า 80-100 บาท/กก. และ จากทุเรียน ราคาดี พลอยทำให้ “เงาะโรงเรียน” ปลูกคำชะงวด ราคาก็สูงตามไปด้วย อยู่ที่ กิโลฯ ละ 100  บาท ด้วย"

 

“ทุเรียนใต้” ราคาหน้าสวนพุ่ง 170 บาท/กก.

 

“ส่วนกรณี “ล้ง”  ที่มีประกาศว่าจะไม่รับซื้อทุเรียน  หากสวนไม่มีใบ GAP เพราะการส่งออกทุเรียนไทย เป็นสินค้าตามประกาศว่าด้วยกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่91) พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้ผู้ส่งออกทุเรียนสดออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกทุเรียนสดออกไปนอกราชอาณาจักรกับกรมวิชาการเกษตร โดยผลผลิตที่ส่งออกต้องมาจากแปลงที่ได้รับการรับรอง GAP และใช้โรคคัดบรรจุที่ได้รับการรับรอง GMP  นี่จึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ล้ง ต้องรับซื้อสวนแปลงที่ได้รับ GAP เท่านั้น  เชื่อว่ามีเกษตรกร มีน้อยที่จะตกขบวน เนื่องจากในช่วงปลายปี2562-2563 มีการลุยทำ GAP มาตลอด แต่มาหยุดชะงักหลังจากกรมวิชาเกษตรโดยตัดงบประมาณไป ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องน่าเสียดายโอกาสมาก

 

 

ด้านกองอำนวยการร่วมกลไกควบคุมและป้องกันโรค โควิด-19 ของคณะรัฐมนตรีจีน มีการกำหนดแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 โดยจะมีการตรวจนำเข้าสินค้าแช่เย็นแช่แข็งนำข้าของจีน ซึ่งส่งผลต่อการปล่อยนำเข้าผลไม้ของไทย เริ่มใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยสินค้าผลไม้ซึ่งขนส่งในตู้คอนเทรนเนอร์ทำความเย็นของไทยจะถูกสุ่มร้อยละ 30 ของจำนวน Shipment เข้าลานตรวจ เพื่อตรวจสอบศัตรูพืช ในจำนวนนั้นจะถูกสุ่มตรวจเพื่อฆ่าเชื้อตามมาตรการดังกล่าว โดยจะมีการรื้อสินค้าออกมาทั้งตู้ ฆ่าเชื้อตู้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 ชั่วโมง ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และหากพบเป็นบวกก็จะตีกลับหรือทำลาย หากผลเป็นลบจะทำการฆ่าเชื้อและออกใบรับรองการผ่านการฆ่าเชื้อ และดำเนินการตรวจปล่อย ซึ่งมาตรการความเข้มงวดในการตรวจสินคาแช่เย็นแช่แข็งนำเข้าของจีน อาจส่งผลกระทบต่อการตรวจปล่อยสินค้าผลไม้ของไทยมีความล่าช้ามากขึ้น