ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ณ จ.ระยอง (24 - 25 สิงหาคม 2563) ได้มีมติอนุมัติขยายเวลาประกันรายได้ชาวสวนปาล์ม 3 เดือน จากเดิมกันยายน 2563 เป็นสิ้นสุดธันวาคม 2563
กรณีนี้ นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ ประธานคณะกรรมการด้านปาล์มน้ำมันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การบริหารจัดการปาล์มน้ำมันบริหารในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.)ที่ไม่บริหาร กล่าวคือ นึกจะทำก็ทำ พอมีปัญหาอะไรขึ้นมา น้ำมันปาล์มบริโภคจะขาดแคลนหรือไม่ ต้องเตรียมอะไรบ้างบริหารที่ไม่บริหาร จะทำอย่างไรก็ไม่เพื่อเอื้อประโยชน์กลุ่มพวกพ้อง เพราะจริงต้องมีการวางแผนปาล์มปริมาณเท่านี้จะต้องวางอย่างไร
“ในประเทศไม่ได้ขาดแคลนแน่นอน แต่เราจะต้องมีการบริหารสต็อกอย่างไร แล้วจะวางแผนส่งออกอย่างไร แล้วเก็บไว้อย่างไร เพราะปาล์มน้ำมันเก็บสต็อกไว้ได้ แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า แต่จะมาบริหารก็ต่อเมื่อมีเกษตรกรออกมาประท้วงเรียกร้อง ราคารับซื้อไม่เป็นธรรม หมายความว่าผู้บริหารไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการ สั่งการในการจัดการ ในการคิดในการทำ เพื่อให้เป็นประโยชน์ของประเทศในภาพรวม”
นายพันศักดิ์ กล่าวว่า ผลผลิตปาล์มจะเริ่มออกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มทยอยออกมาเรื่อยแบบขั้นบันได แล้วจะไปมากที่สุดเดือนมิถุนายน ความจริงการทำงานจะต้องมาวางแผนกันแล้ว ต้องประเมินผลผลิต ผลผลิตแบบนี้จะวางแผนกันอย่างไร ถ้ามากจะส่งออกอย่างไร ไม่ใช่ให้ปัญหามาเกิดก่อน แล้วถึงจะมานั่งวางแผนแก้ปัญหากัน ซึ่งการบริหารแบบนี้เข้าสำนวน กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ เกษตรกรก็โดนกดราคาย่ำแย่ทุกปี แก้ไม่ได้
“ยกตัวอย่าง ประกันรายได้ปี 2 จากปีแรก ครม.ได้มีมติอนุมัติขยายเวลาประกันรายได้ชาวสวนปาล์ม 3 เดือน จากเดิมกันยายน 2563 เป็นสิ้นสุดธันวาคม 2563 ความจริงในวันนี้ตามกระบวนการก็คือ จะต้องมีการะชุมคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ก่อน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน แต่ยังไร้วี่แววเลยว่าจะจัดได้เมื่อไร จากนั้นถึงจะมาประชุม กนป. ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน ก็ต้องนำเรื่อง เข้า ครม. เห็นชอบ ถึงจะอนุมัติให้ดำเนินโครงการได้”
นายพันธ์ศักดิ์ กล่าว การทำงานกันแบบนี้ ที่ผมบอกก็คือ การบริหารที่ไม่บริหาร และการทำงานของหน่วยงานรัฐ ไม่ได้ทำงานเพื่อสังคมในประเทศ ทำงานแบบไฟไหม้ฟาง ไม่รู้จักการวางแผน หากในประเทศปาล์มเกิน เกินเท่าไร แล้วหากเกินจะทำอย่างไร แล้วช่วงไหนขาด จะทำอย่างไรเพื่อที่จะนำผลผลิตที่เกิน เก็บไว้ผลิตในเดือนที่ขาดแคลน อีกด้านหนึ่งจะลดต้นทุนอย่างไร
"ยกตัวอย่าง ในกรณีที่เกษตรกรที่ซื้อปุ๋ย ไม่ได้จ่ายเงินสด จะจ่ายก็ต่อเมื่อมีผลผลิตออกมา จะคล้ายแบบให้สินเชื่อ กู้อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการขายปุ๋ยที่แพงมาก บวกกันไม่รู้กี่เท่า เป็นจุดเปราะบางที่หลายคนมองไม่เห็น กลายเป็นต้นทุนที่สูง ก็พยายามจะเสนอเพื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหา แต่ก็ดูแล้วเรื่องจะเงียบ เพราะเป็นกลุ่มทุน ก็จะมาใช้แก้ปัญหาอีกแบบหนึ่ง ก็คือ จะให้ ธนาคารรัฐออกมาช่วยแบบให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ ก็ไม่ใช่วิธีที่สุด นี่แหละคือการบริหารที่ไม่บริหาร"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"น้ำมันถั่วเหลือง" ขย่ม ปาล์มขวด หั่นราคาเหลือแค่ 39-42 บาท
ได้เห็นแน่ “ราคาปาล์ม 8 บาท/กก.” ผวาซ่อนกลแลกนำเข้า
เฮ กนป. เคาะประกันรายได้ชาวสวนปาล์มต่ออีก 3 เดือน
ไม่จ่ายชดเชยปาล์มงวดที่ 13 หลังราคาพุ่งทะลุเกินเพดาน
จับตาส่งออก 3 แสนตัน เอื้อน้ำมันเถื่อน