ความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกร ชาวสวนยาง ตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2563 เห็นชอบให้ดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท. ) ทั้งบัตรสีเขียว และบัตรสีชมพู ซึ่งแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,834,087 ราย พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18,286,186.03 ไร่ กำหนดระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563–มีนาคม 2564 รอบแรกได้มีการเคาะจ่ายส่วนต่าง “ประกันราคายาง” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีความคืบหน้า ตามลำดับ เกษตรกรชาวสวนยาง เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ http://www.rubber.co.th/gir/index/ และตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุด ความคืบหน้า มาถึงแล้ว "งวดที่4" ประจำเดือนมกราคม
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และคณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิงในการประกันรายได้ตามชนิดยางและอัตราค่าชดเชยรายได้ (ระยะที่2) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ ประชุมคณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 งวดที่ 4 (มกราคม)
โดยใช้ราคายางอ้างอิงจากตลาดกลาง 8 ตลาด ยางพารา จังหวัด เชียงราย, บุรีรัมย์, ระยอง, สงขลา, นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี และ ยะลา กล่าวคือใช้ราคาอ้างอิง 23 มกราคม-21 กุมภาพันธ์ 2564 (ย้อนหลัง 30 วันนับจากวันประชุม)
สำหรับหลักเกณฑ์นั้นจะเป็นไปตามโครงการระยะที่ 1 โดยเป็นการประกันรายได้ยาง 3 ชนิด คือ 1.ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม2.น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม3.ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม
โดยกำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวนไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวนไม่เกิน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน
นายสุนทร กล่าวว่า ราคากลางอ้างอิงประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 งวด 4(มกราคม) สรุปได้ราคากลางอ้างอิงดังต่อไปนี้
1.ยางแผ่นดิบ ราคาลางอ้างอิงการขาย 54.93 บาท/กิโลกรัม ได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง ประกันราคา 5.07 บาท/กิโลกรัม
2.น้ำยางสด ราคากลางอ้างอิงการขาย 46.99 บาท/กิโลกรัม ส่วนต่าง 10.01 บาทต่อกิโลกรัม
3. ยางก้อนถ้วย ราคากลางอ้างอิง 20.54 ส่วนต่าง 2.46 บาทต่อกิโลกรัม
อย่างไรก็ดี การยางแห่งประเทศไทยจะส่งรายชื่อให้ ธกส.วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 โดยทาง ธกส.จะโอนเงินชดเชยได้ในวันที่ 1-2 มีนาคม 2564 รวมวงเงิน ในงวดที่4 วงเงิน 2,461.12 ล้านบาท สาเหตุที่มีการจ่ายชดเชยในงวดที่ 4 มีส่วนต่างที่ต้องชดเชยมากที่สุดโดยเฉพาะพี่น้องชาวสวนยางที่ทำ "น้ำยางสด" ยกเว้นราคา "ยางก้อนถ้วย" ที่ขยับสูงขึ้นมาเลยได้น้อยกว่ายางชนิดอื่น ก็ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวสวนยางด้วย
เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลสวนยางไว้กับ กยท.สามารถตรวจสอบสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่2 ได้ที่ลิงค์ http://www.rubber.co.th/gir/index/
อย่างไรก็ดี เกษตรกรยางพารา ชาวสวน สามารถ ตรวจสอบสถานะการโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา แบบอัพเดทได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ https://chongkho.inbaac.com/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“บริดจสโตน” ผวายางขาด หลังไทยลดจำนวนต้นยางลง
“โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” พร้อมจ้างงาน 1 มี.ค.