การจัดเสวนาเรื่อง “มองการท่องเที่ยว หลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร” ( New Normal in Tourism and Creating Travel Bubble)” ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งจัดโดยสมาคมท่องเที่ยวอาเซียน (ASEANTA : ASEAN Tourism Association) หรืออาเซียนต้า โดยมีองค์กรด้านการท่องเที่ยวของโลก รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวระดับโลกเข้าร่วมเสวนา ข้อสรุปจากเวทีนี้ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่ากว่าที่ประเทศต่างๆจะเริ่มขายการท่องเที่ยวได้ปกติ จะต้องรอให้มีการผลิตวัคซีนได้สำเร็จ ซึ่งองค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO)คาดการณ์ว่ากว่าการท่องเที่ยวโลกจะฟื้นตัวต้องใช้เวลาอีกราว 2-3 ปี และสิ่งที่ทุกคนกังวลคือกลัวการแพร่ระบาดของไวรัสระลอกที่ 2
ทำให้ต้องยกระดับมาตรการคุมเข้มการเดินทางเข้า-ออกของนักเดินทางต่างชาติ แนวทางการการกลับมาฟื้นฟูการท่องเที่ยวอีกครั้งของทั่วโลก รวมถึงไทย จะเดินไปเป็นขั้นเป็นตอนเป็นตอน หลักๆจะมีด้วยกัน 5 ขั้นตอน ที่ต้องเริ่มจากการสร้างมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจด้านการท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ในขณะนี้ทุกประเทศได้เริ่มดำเนินการแล้ว และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาทยอยเปิดให้นักธุรกิจเดินทางข้ามประเทศได้ เช่นสิงคโปร์เจรจากับจีน,สิงคโปร์เจรจากับมาเลเซีย (เฉพาะปีนัง) เป็นต้น
จากนั้นก็จะมองถึงการเปิดการท่องเที่ยวแบบ ทราเวล บับเบิ้ล ซึ่งน่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ และจะทยอยเปิดการท่องเที่ยวได้ตามปกติ ในช่วงปีหน้า ส่วนรูปแบบการท่องเที่ยวของโลกจะมุ่งไปสู่การท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งยังมองว่าภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะไทยและเวียดนาม จะเป็นเดสติเนชั่นที่หลายประเทศมองการเจรจาการเปิดการท่องเที่ยวในลักษณะทราเวล บับเบิ้ล และมองว่าการจัดงานด้านไมซ์จากต่างประเทศ(การประชุมจากต่างประเทศ) จะเป็นอันดับสุดท้ายที่จะฟื้นตัว
นางมิ่งขวัญ เมธเมาลี ประธานสมาคมท่องเที่ยวอาเซียน (ASEANTA : ASEAN Tourism Association) หรือ อาเซียนต้า เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ถ้าประเทศต่างๆทยอยเปิดให้เดินทางท่องเที่ยว มั่นใจว่าอาเซียน จะเป็นเดสติเนชั่น ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก อาเซียนต้า จึงต้องเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่อง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในปีหน้า
ได้แก่ 1.การหารือเรื่องมาตรฐานมีสกรีนคนเข้าประเทศ เช่นในการเปิดให้นักธุรกิจเข้ามา บางประเทศก็มีการกักตัว บางประเทศก็ไม่กักตัว ก็ควรจะทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งอาเซียน 2.การผลักดันเรื่องการเปิดการท่องเที่ยว ที่ควรจะเริ่มด้วยนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางเที่ยวตัวเอง (เอฟไอที) ก่อนและ3.ถ้าอาเซียนพร้อมเปิดเรื่องการท่องเที่ยว ก็จะเน้นเรื่องการส่งเสริมให้เที่ยวกันเองในอาเซียนก่อน โดยแนวทางเหล่านี้จะผลักดันผ่านสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN BAC)เพื่อนำเสนอในเวทีการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน และการประชุมของผู้นำอาเซียนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ที่นี่ก่อนใคร “ทราเวลบับเบิล” Travel Bubble ร่างมาตรการ ชงเข้าครม.
นายหลิว ฉือจุน เลขาธิการองค์กร World Tourism Alliance-China หรือ WTA เผยถึงสถานการณ์ในจีนขณะนี้ว่า ตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา การเดินทางทางอากาศภายในประเทศของจีนก็กลับคืนมาให้บริการราว 61.5% ธุรกิจการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจีน ทำให้ต้องมีการนำมาตรการควบคุมและป้องกันที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมาใช้อีกครั้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดรอบสอง อีกทั้งในช่วงเวลาแห่งการฟื้นตัวของจีนนี้ ตลาดการท่องเที่ยวได้อานิสงส์หลัก ๆ จากทริปเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น ๆ ภายในประเทศ
นายพาเวล นีเวียดอมสกี ประธานองค์การ ECTAA (The European Travel Agents’ and Tour Operators’ Association) เปิดเผยว่า สถานการณ์ในยุโรป หลังจากโควิด-19 คลี่คลายลงได้ระดับหนึ่ง ได้มีการเปิดพรมแดนรับการเดินทางท่องเที่ยวอีกครั้งระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ด้วยกันมาตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา
ส่วนการเดินทางมายังอียูของชาวต่างชาติที่อยู่นอกกลุ่มอียูนั้น ยังคงมีข้อห้ามไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. หลังจากนั้นจะค่อยๆ ยกเลิกเป็นขั้นเป็นลำดับไป โดยในอียูได้ทำข้อตกลงที่จะนำแอปพลิเคชันติดตามเส้นทางการเดินทางที่สามารถย้อนรอยได้ (Tracing Apps) มาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้เดินทาง
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า ถึงแม้ธุรกิจการท่องเที่ยวในอียูจะเริ่มกลับมาเปิดมาตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.แล้ว แต่การจองตั๋วหรือจองที่พัก ยังคงน้อยกว่าช่วงปกติอยู่มาก สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยวมากนัก และส่วนใหญ่ก็เป็นการเดินทางภายในประเทศ เช่น เดินทางเยี่ยมครอบครัว เยี่ยม
นอกจากนี้ต้องยอมรับว่าแม้อียูจะมีกฎระเบียบที่ใช้ร่วมกันในภาพรวม แต่เมื่อเข้าไปในแต่ละประเทศหรือในบางเขตพื้นที่แล้ว เช่นในแต่ละเมืองหรือแต่ละชุมชน นักท่องเที่ยวก็อาจยังต้องพบเจอกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัย ซึ่ง “ข้อมูล” คือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การฟื้นคืนความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว
หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,588 วันที่ 2 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563