ปั้นอีสาน ศูนย์กลางภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตามยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุตสาหกรรมบริการและเกษตรปลอดภัย หอการค้าอุดรฯร่วมกับสวทช. เปลี่ยนเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการภาคเกษตร ยกระดับผลผลิตสู่มาตรฐาน ThaiGAP สร้างความเชื่อมั่นตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนร่วมทำโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าการเกษตรด้านผักและผลไม้ แก่ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกร ให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินการด้านการ เกษตร เพื่อให้สินค้าเกษตรไทยสามารถเข้าสู่การแข่งในระดับตลาดโลก ด้วยมาตรฐาน ThaiGAP (Thai Good Agricultural Practices)
ความมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมยกระดับการเกษตรของจังหวัดอุดรธานีครั้งนี้ เนื่องจากอาชีพหลักของคนภาคอีสานคือการทำเกษตร แต่ที่ผ่านมาการทำการเกษตรถือว่าไม่คุ้มทุนเชิงธุรกิจ แต่จากเป้าหมายที่กำหนดให้อีสานเป็นแหล่งผลิตอาหารของภูมิภาค เป็นโอกาสในการที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนในด้านต่างๆ ให้มีความพร้อม ไม่ว่าในด้านเทคโนโลยี การใช้ดิจิตอล โลจิส ติกส์ และอื่นๆ เพื่อให้ตอบโจทย์การยกระดับการเกษตรที่สำคัญของภาคอีสาน
“หากไม่มีการสร้างมาตรฐานการทำการเกษตรแล้ว ต่อไปการส่งสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศจะทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องสุขอนามัย แล้วยังช่วยสร้างความสามารถการแข่งขัน สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค การที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าอุดรธานี ร่วมมือกับทาง สวทช. และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ที่มีความชำนาญในเรื่องนี้ จึงเป็นผนึกกำลังร่วมกันยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตรสมัยใหม่ ให้สามารถมีที่ยืนในอนาคต”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
นิคมกรีนอุดรฯ เล็งดึงทุนญี่ปุ่น-จีน รับไฮสปีด-ระเบียงเศรษฐกิจอีสาน
ต่อยอด‘24 For Change’อุดรธานี เติม6มิติ มุ่ง‘ศูนย์กลางลุ่มน้ำโขง’
นายสวาทฯกล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นจะระดมให้องค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs การเกษตร ผู้รับซื้อสินค้าการเกษตร หรือล้ง ที่ทำหน้าที่ในการนำเอาสินค้าการเกษตรไปสู่ตลาด ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานต้องใช้เวลาทำต่อเนื่องไปอีกระยะจนเกิดความคุ้นเคย ก็จะทำให้การเข้าสู่มาตรฐานเป็นเรื่องปกติ
“การที่จะทำงานในเรื่องดังกล่าวให้เกิดผลบรรลุตามเป้าหมาย จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยกันทำงาน ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป เช่น พื้นที่หนึ่งอาจเป็นเรื่องของผักผลไม้ อีกพื้นที่เป็นเรื่องประมง ส่วนอีกที่ได้เรื่องปศุสัตว์ ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าของภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่ไป แต่เมื่อนำเอาทุกอย่างมามัดรวมกันแล้ว ความคุ้มค่าของการเกษตรจะเป็นตัวตอบโจทย์ ในการที่ทำให้ภาคอีสานเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของภูมิภาค ผลได้ที่จะย้อนกลับมาก็คือ การสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างความมั่นคงให้พื้นที่และประเทศ” นายสวาทฯกล่าวในที่สุด
หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,594 วันที่ 23 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563