วันที่ 3 พ.ย. 63 เมื่อเวลา 10.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 3/2563 และการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) ณ ณ หอประชุมสแปลช โรงแรมสแปลช บีช รีสอร์ท ไม้ขาว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) ร่วมกับคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชนและเกษตรกร ย้ำการพัฒนากลุ่มจังหวัดอันดามัน “การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับโลก บนฐานความเข้มแข็งของ ภาคเกษตรและชุมชนอย่างยั่งยืน” ด้วยการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกาะติด "ครม.สัญจรภูเก็ต" ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามัน
อลังการ "หาดป่าตอง ภูเก็ต" แปรขบวนเรือ เปิดฤดูกาลท่องเที่ยว
ชงครม.สัญจรภูเก็ต ของบ 1.5 พันล้าน จ้างงาน5จังหวัดใต้
นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุม ขอบคุณข้าราชการและประชาชนทุกจังหวัดที่ให้การต้อนรับคณะรัฐมนตรีในการลงพื้นที่ตรวจราชการครั้งนี้ เป้าหมายของการมาเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานีและภูเก็ต เพราะตั้งใจมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มจังหวัดอันดามัน ซึ่งจะกลายเป็นโครงการต้นแบบในการดูแลสุขภาพและเศรษฐกิจให้กับพื้นทีอื่นๆ ทั่วประเทศด้วย
แม้ว่าขณะนี้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายอย่างพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น แต่รัฐบาลยังต้องระมัดระวังการใช้จ่ายที่นำมาจากงบประมาณแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้และเงินจ่ายประจำปี 2564 ล้วนมาจากภาษีของประชาชน จึงอยากให้ภาคเอกชนเข้าใจถึงขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ต้องยึดหลักความถูกต้องตามระเบียบขั้นตอน ผ่านการเห็นชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรีด้วย
สำหรับการท่องเที่ยวนั้น รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวไทยมากขึ้น อาทิ ให้คนภาคเหนือมาเที่ยวภาคใต้ รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวก็ต้องเสริมกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลงด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำว่า จังหวะนี้เป็นโอกาสในการปรับตัวเพื่อแสวงหาศักยภาพใหม่ๆ ทางธุรกิจ ให้เป็นภูมิคุ้มกันกับวิกฤตในอนาคต
ทั้งนี้ ในที่ประชุมรับทราบการมาตรการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู ผู้ประกอบการและประชาชนที่ด้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส -19 ประกอบด้วย
- มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจ
- มาตรการเยียวยาด้านการเงินและภาษี
- ด้านการท่องเที่ยว อาทิ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะอันดามัน เพื่อความเป็นเมืองน่าอยู่และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- ด้านการเกษตร อาทิ การขับเคลื่อน Thailand Green Rubber ยกระดับยางไทยสู่สากล สนับสนุนการทำประมงนอกน่านน้ำ
- การพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ อนุรักษ์ ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก
- โครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เช่น การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้กลุ่มจังหวัดอันดามันสามารถกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำถึงการจัดลำดับสำคัญของให้เหมาะสมกับวงเงินงบประมาณที่มีอยู่ พร้อมเสนอการจ่ายภาครัฐในรูปแบบ new normal ในลักษณะร่วมจ่าย ร่วมลงทุน หรือCo-pay เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐเกิดความคุ้มค่า การดำเนินมาตรการต้องทำในลักษณะ tailor made ให้เหมาะสมกับทุกพื้นที่ สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นที่ออกมานั้น ต้องการหนุนเศรษฐกิจให้กลับมา เพื่อให้ธุรกิจสามารถทรงตัวอยู่ได้ รักษาการจ้างงาน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือคนตัวเล็ก ไม่ให้ตกงาน และสามารถยืนอยู่ได้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบเท่านั้น
นายกรัฐมนตรียืนยันในช่วงท้ายว่า แม้รัฐบาลนี้จะเป็นการรวมตัวกันของหลายพรรคการเมือง แต่ขอให้มั่นใจทุกพรรคการเมืองพร้อมจะร่วมมือร่วมใจกันทำเพื่อบ้านเมือง สิ่งสำคัญวันนี้ คือ ต้องเร่งสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนและภาคเอกชนเข้าใจถึงการทำงานของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะวันนี้แต่การวางรากฐานประเทศในอนาคตด้วย