การบินไทย ไตรมาส3/63 ขาดทุน บักโกรก 2.15 หมื่นล้านบาท9เดือนเฉียด5หมื่นล้าน

11 พ.ย. 2563 | 14:47 น.
อัปเดตล่าสุด :12 พ.ย. 2563 | 09:17 น.

การบินไทย แจงผลประกอบการไตรมาส3ปี2563 อ่วมขาดทุนหนัก2.15หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 360.1% รวม9เดือน ขาดทุนเฉียด5หมื่นล้านบาท จากโควิด-19 ยังทำการบินปกติไม่ได้

บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งผลประกอบการไตรมาส3 ปี2563 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า มีผลการดำเนินงาน ขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2563 จำนวน 21,531 ล้านบาทขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16,851 ล้านบาท (360.1)%โดยเป็นการขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 21,536 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 9.87 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 2.14 บาท

หากรวมผลประกอบการ 9เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.63) การบินไทย ขาดทุนสุทธิ 49,552 ล้านบาท ส่วนกระแสเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่30กันยายน2563 มีจำนวนรวม 11,139หมื่นล้านบาท ลดลง10,504ล้านบาทเมื่อเทียบกับวันที่31ธันวาคม2562 ที่มีจำนวนรวม21,663ล้านบาท

การบินไทย ไตรมาส3/63 ขาดทุน บักโกรก 2.15 หมื่นล้านบาท9เดือนเฉียด5หมื่นล้าน

ทั้งนี้ไตรมาส3/63 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวร ประมาณการเงินตอบแทนความชอบในการทำงาน ผลขาดทุนจากการด้อยค่า ซึ่งเป็นไปตาม TFRS9 ผลกำไรสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิ และขาดทุนจากอัตราแลกปลี่ยนงินตราต่างประเทศ 

(EBITDA)ติดลบจำนวน 4,770 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนมีกำไรเท่ากับ 2,597 ล้านบาท โดยมี EBITDA Marin เท่ากับ -127.3% เปรียบเทียบกับปีก่อนที่เท่ากับ 5.8%

ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ของ ปี2563 บริษัทๆ และบริษัทย่อยมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 95.0%ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 97.8 % อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 34.9% ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 80.0% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 0.49 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 91.9%

การบินไทย ไตรมาส3/63 ขาดทุน บักโกรก 2.15 หมื่นล้านบาท9เดือนเฉียด5หมื่นล้าน

สำหรับการขนส่งสินค้ามีปริมาณการผลิตค้นพัสดุภัณฑ์ (ADTK) ต่ำกว่าปีก่อน 96.2% ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RFTK) ต่ำกว่าปีก่อน 93.6% อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 91.2% สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยที่ 52.2%

บริษัทๆ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 3,727 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 41,289 ล้านบาท หรือ 91.7% สาเหตุสำคัญเนื่องจากทั้งรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 37,654 ล้านบาท(95.1%) รายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 1,718 ล้านบาท (56.2%) เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั้งของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงมีอยู่ 

สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 19,375 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 28,483 ล้านบาท (59.5%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่ง และหรือจำนวนผู้โดยสารลดลงจากปริมาณการผลิตและปริมาณการขนส่ง และจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง

ค่าใช้จ่ายคงที่ที่อยู่ในระดับสูงทำให้การลดลงของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำนินงาน 15,648 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีกอน 12,806 ล้านบาท (450.6%)

อย่างไรก็ตามในไตรมาส 3 ของปี 2563 บริษัทฯ ยังคงดำเนินมาตรการเพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายบุคลากร โดยยังคงลดเงินเดือน และค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงต่อเนื่อง และขอความร่วมมือให้พนักงานร่วมโครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือนและค่าตอบแทน (โครงการ Together We Can

นอกจากนี้ในเดือน ตุลาคม 2563 ได้เปิด โครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร" 2 โครงการ ได้แก่โกรงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร แพกแกจ A (Mutual Separation Plan : MSP A) และ โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน (Leave without pay ) 

การบินไทย ไตรมาส3/63 ขาดทุน บักโกรก 2.15 หมื่นล้านบาท9เดือนเฉียด5หมื่นล้าน

ทั้ง 2 โครงการจะมีผลใน ไตรมาส4 ของปี 2563 เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทสามารถดำรงเงินสดในมือให้เพียงพอในการดำเนินกิจการระหว่างที่ไม่มีกระแสเงินสดรับจากการดำเนินธุรกิจการบินปกติและจากแหล่งเงินทุนอื่น 

ประกอบกับการชะลอการลงทุน และการจัดซื้อจัดจ้าง ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ และความปลอดภัย และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 

นอกจากนี้ ย้ง หารายได้ เพิ่มจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสาร โดยการเจาะตลาดลูกค้าภาคพื้นให้มากขึ้น ได้แก่

การบินไทย ไตรมาส3/63 ขาดทุน บักโกรก 2.15 หมื่นล้านบาท9เดือนเฉียด5หมื่นล้าน

โครงการอร่อยลันฟ้า ไม่บินก็ฟินได้ เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสรสชาติอาหารเหมือนให้บริการบนเครื่องบิน โดยให้บริการอาหารนานาชาติที่นำเสิร์ฟบนเครื่องบินเฉพาะ Busincss Class และ Fist Class ที่สำนักงานใหญ่การบินไทย และสำนักงานสีลม 

นอกจากนี้ ฝ่ายครัวการบินยังได้เปิดตัว ปาท่องโก๋การบินไทย สังขยาเจ้าจำปี ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 

โครงการ Thai Flying Experience & Beyond โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมและทดลองทำการบินกับเครื่องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) เพื่อสร้างประสบการณ์จริงด้านการบิน

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของโลกในไตรมาส 3 ของปี 2563 แม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการเดินทางภายในประเทศ แต่ยังคงต่ำกว่าระดับปกติอยู่มาก ภาคการท่องเที่ยวของไทยยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศทั้งของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

การบินไทย ไตรมาส3/63 ขาดทุน บักโกรก 2.15 หมื่นล้านบาท9เดือนเฉียด5หมื่นล้าน

บริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนอย่างเข้มข้น และยังคงให้บริการขนส่งสินค้าในบางเส้นทาง รวมทั้งจัดเที่ยวบินพิเศษเพื่อนำคนไทยกลับบ้าน นอกจากนี้ ยังมุ่งหารายได้เพิ่มจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสาร โดยการเจาะตลาดลูกค้าภาคพื้นให้มากขึ้น ขณะที่ บริษัทไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้เริ่มกลับมาเปิดให้บริการผู้โดยสารในเส้นทางภายในประเทศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563

ในไตรมาส 3 ของปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 3,727 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 41,289 ล้านบาท หรือ 91.7% มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 19,375 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 28,483 ล้านบาท (59.5%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานผันแปรลดลงจากปริมาณการผลิต ปริมาณการขนส่ง และจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายคงที่ที่อยู่ในระดับสูงทำให้การลดลงของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงาน 15,648 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 12,806 ล้านบาท (450.6%)

บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ประกอบด้วย

- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวรจำนวน 444 ล้านบาท

- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 35 ล้านบาท

- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 5,306 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชี

- ผลกำไรสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิจำนวน 32 ล้านบาท

บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2563 จำนวน 21,531 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16,851 ล้านบาท (360.1%) โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 21,536 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 9.87 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 2.14 บาท

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัทฯ ดำเนินการฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนตามที่บริษัทฯ เสนอ โดยขณะนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จัดโปร 11.11 วันคนโสด การบินไทย ขายไม้จิ้มฟันยันเรือบิน

"การบินไทย" ร่วมใจจาก ลดรายจ่ายได้ 300 ล้านต่อเดือน ปีหน้าพนักงานเหลือ1.57หมื่นคน

เขย่า “การบินไทย” ลดคน-ฝูงบิน