เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๔ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการทําสัญญากู้ยืมเงิน (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-๑๙) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๑
เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๔ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า
กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไข ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ดําเนินการกู้เงินโดยวิธีการทําสัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) โดยมีสาระสําคัญและเงื่อนไขของการกู้เงิน ดังนี้
๑. กระทรวงการคลังได้ดําเนินการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยวิธีการทําสัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กับธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) วงเงินกู้รวม ๓๐,000 ล้านบาท (สามหมื่นล้านบาทถ้วน)
๒. การเบิกเงินกู้ กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ โดยจะแจ้งให้ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทําการ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเบิกเงินกู้เป็นงวด ๆ โดยจะเรียงลําดับจากวงเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ําสุดก่อน และเมื่อเบิกเงินกู้ครบจํานวนของวงเงินดังกล่าวแล้ว จึงจะเริ่มเบิกรับเงินกู้ในวงเงินลําดับถัดไป
๓. อายุเงินกู้ ๔ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ ครบกําหนดในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
๔. อัตราดอกเบี้ย
๔.๑ อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกส่วนต่างเฉลี่ยร้อยละ ๐.๒๓๓๖๗ (ศูนย์จุดสองสามสามหกเจ็ด) ต่อปี
๔.๒ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
๔.๓ การปรับอัตราดอกเบี้ยทุกงวด ๖ เดือน หากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง โดยอัตราดอกเบี้ยงวดแรกจะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ณ วันเบิกเงินกู้ครั้งแรก สําหรับการใช้อัตรา ดอกเบี้ยในงวดต่อ ๆ ไป จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ณ วันครบกําหนดชําระดอกเบี้ย เพื่อใช้คํานวณ ดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา 6 เดือนถัดไป การคํานวณดอกเบี้ยให้ถือว่าหนึ่งปีมี ๓๖๕ วัน นับตามจํานวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชําระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ และชําระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๗
๕. การชําระดอกเบี้ย ตลอดเวลาที่สัญญายังมีอายุอยู่ให้แบ่งชําระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ ๓๐ มิถุนายน และ ๓๐ ธันวาคม ของทุกปี สําหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชําระพร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดตามสัญญากู้ยืมเงิน หากวันครบกําหนดชําระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชําระในวันทําการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว เข้ารวมเพื่อคํานวณดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระ ยกเว้นการชําระต้นเงินกู้งวดสุดท้ายให้คํานวณดอกเบี้ย จนถึงวันก่อนวันชําระหนี้
6 . การชําระคืนต้นเงินกู้ กระทรวงการคลังสามารถชําระคืนต้นเงินกู้ก่อนครบกําหนด ได้ทั้งจํานวนหรือบางส่วนก็ได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะแจ้งให้สถาบันการเงินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทําการ โดยกระทรวงการคลังจะชําระดอกเบี้ยคงค้างของต้นเงินกู้ที่ค้างชําระ พร้อมกับ การชําระเงินคืนต้นเงินกู้ก่อนกําหนดนั้น ทั้งนี้ ดอกเบี้ยคงค้างให้คํานวณนับตั้งแต่วันที่กระทรวงการคลัง ชําระคืนดอกเบี้ยครั้งล่าสุดจนถึงวันก่อนวันที่กระทรวงการคลังชําระคืนต้นเงินกู้ก่อนกําหนด โดยหาก วันครบกําหนดชําระคืนต้นเงินกู้ตรงกับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้เลื่อนไปชําระคืน ในวันทําการถัดไป
๗. ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
จําเริญ โพธิยอด
รองปลัดกระทรวงการคลัง
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง