22 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกประกาศคําสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 162 / 2514 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 22)
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังกล่าวเป็นคราว ๆ ออกไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคําสั่งที่ 1/2564 ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 20) ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 นาฬิกา นั้น
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากหลายภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ และภาคประชาชน เกี่ยวกับการพิจารณาผ่อนคลาย การบังคับใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อลดผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจ สังคม และการดําเนินชีวิตของประชาชน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถ ทราบแหล่งที่มาของการระบาด และเข้าไปควบคุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และข้อ 7 ของข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งเห็นชอบผ่อนคลาย ให้บางสถานที่/สถานประกอบการ/กิจการ ที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดมาตรการหรือแนวทางในการ ควบคุมดูแลไว้เป็นการเฉพาะแล้ว สามารถเปิดดําเนินการได้ จึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ 1 ผ่อนคลายให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า เปิดดําเนินการได้ตามความสมัครใจและความพร้อม ทั้งนี้ ก่อนจะเปิดดําเนินการ ผู้มีหน้าที่ รับผิดชอบ หรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อแนะนําของทางราชการ และผ่านการอบรม ตามแนวทางที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยากําหนด เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดดําเนินการ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
ข้อ 2 ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของสถานประกอบการ พนักงานหรือผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ในสถานที่ตามข้อ 1 จะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขกําหนด รวมถึงจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ทางราชการกําหนด และคําแนะนําของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อ 3 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2554 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตรวจสอบหรือควบคุมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ได้รับการผ่อนคลาย ให้เปิดดําเนินการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและคําสั่งนี้อย่างเคร่งครัด หากสถานประกอบการใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พระนครศรีอยุธยาพิจารณาสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กาญจนบุรี คลายล็อคโรงแรม-รีสอร์ท เปิดรับนักท่องเที่ยว
“เราชนะ” เยียวยาโควิด ครอบคลุมประชาชนหลายกลุ่มอาชีพ
ไฟไหม้ศูนย์ผลิต 'วัคซีนโควิด' ใหญ่สุดในโลกที่อินเดีย