รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (นพ.ยง ภู่สุวรรณ) ภายใต้หัวข้อ “โควิด-19 วัคซีน mRNA วัคซีนกับไวรัสเวกเตอร์วัคซีน”
หลายคนยังเข้าใจไม่ถูกต้องถึงหลักการของวัคซีน mRNA และไวรัสเวกเตอร์
mRNA วัคซีน เช่นไฟเซอร์ (Pfizer) โมเดอร์นา (Moderna) ไวรัสเวกเตอร์ เช่น AstraZeneca ที่จะฉีดในบ้านเรา Sputnik V ของรัสเซีย โดยหลักการวัคซีนทั้ง 2 คล้ายกัน ต่างกันในเรื่องตัวนำเข้าเซลล์เจ้าบ้านหรือเซลล์มนุษย์
ไฟเซอร์ เอาไขมันมาห่อหุ้มพันธุกรรมแล้วนำเข้าเซลล์ เมื่อ RNA เข้าเซลล์แล้วเข้าสู่โรงงาน (Ribosome) โดยตรงในเซลล์สร้างโปรตีน Spike ของโควิดออกมานอกเซลล์
AstraZeneca ใช้ไวรัสเป็นตัวนำเข้าสู่เซลล์ ไฟเซอร์ ไวรัสเวกเตอร์นำเข้าไปสารพันธุกรรมเป็น DNA ต้องเข้านิวเคลียสของเซลล์มนุษย์สร้าง RNA ออกมา RNA จึงไปโรงงาน Ribosome สร้างโปรตีน Spike ของโควิด
ขบวนการหรือหลักการจึงคล้ายกัน ในการสร้างโปรตีนออกมาใช้เซลล์มนุษย์สร้างออกมากระตุ้นภูมิต้านทาน การที่กล่าว่าวัคซีน mRNA น่ากลัวกว่าไวรัสเวกเตอร์จึงไม่น่าจะเป็นจริง ขั้นตอนของไวรัสเวกเตอร์ในเซลล์ผ่านนิวเคลียส ยังมีขั้นตอนที่น่าคำนึงถึงมากกว่า RNA ไปโรงงานโดยตรง
อาการข้างเคียงของ mRNA หลังฉีดจึงเป็นเรื่องของก้อนไขมันที่ห่อหุ้ม mRNA มากกว่าขบวนการสร้างโปรตีน และที่กลัวผลระยะยาวของวัคซีน 2 ชนิด จึงไม่น่าจะแตกต่างกันเพราะขบวนการแบบเดียวกัน
วัคซีน mRNA ขณะนี้มีการนำมาใช้ฉีดทั่วโลกแล้วมากที่สุด การกล่าวว่า mRNA น่ากลัวกว่าไวรัสเวกเตอร์จึงไม่น่าจะเป็นจริง
#หมอยง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“หมอยง” แนะรัฐบาลเร่งเจรจาจีน-รัสเซียซื้อวัคซีนโควิด-19ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
บิ๊ก สสว.แนะเอสเอ็มอีไทย ใช้บันได5ขั้นฝ่าวิกฤติโควิด
อาลัย "ดารารัตน์ เกียรติเกิดสุข" อดีตนักร้องเพลงจับปูดำ เสียชีวิตจากโควิด-19