รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า การมองไปข้างหน้า ถ้าสถานการณ์รุนแรง...ไม่เกิดไม่เป็นไร.
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์
นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
วางแผนในพื้นที่ ตั้งแต่ ระดับบ้าน รพ และรพ สนาม ที่ใช้รักษา “อาการหนัก ต้องสอดท่อ”ได้
1.ประเมินสถานการณ์พื้นที่ ว่ามีคนติดเชื้อทั้งหมดกี่คน ด้วยการตรวจคัดกรองมากที่สุด “ไม่ใช่สุ่ม”
2.ประมาณสูงสุดว่าคนติดเชื้อ 20% จะมีอาการ
ทั้งหมด ถ้าอยู่บ้านโดย “รู้จักวินัยไม่แพร่ให้คนในบ้าน” ให้อยู่ในบ้านและต้อง “รู้สัญญาณเตือนภัย” ว่าขณะนี้ต้องแจ้งสายด่วนต้องเข้าโรงพยาบาล
3.ในขณะที่ คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ที่อยู่ที่บ้านไม่ได้เพราะข้อจำกัดให้อยู่ที่ ฮอสปิเทล หรือโรงพยาบาลสนามขั้นที่ หนึ่ง และพร้อมไป รพ จริง โดยด่วนเมื่อพบมีอาการหนักขึ้นอีกระดับ
4.จำนวนคนติดเชื้อทั้งหมดในข้อหนึ่ง ประเมินไว้ว่า 5% ต้องอยู่ที่โรงพยาบาลจริง แบบหนักถึงสอดท่อ
5.ดูจำนวนเตียงในโรงพยาบาลแยกออกเป็น ห้องความดันลบครบสูตร AIIR กึ่งความดันลบ modified AIIR หอผู้ป่วยรวมแยก Cohort isolation ward
6.ต่อจากข้อ 5 คือประเมินเครื่องช่วยหายใจแบบที่สอดท่อปั๊มอากาศเข้าปอดไม่ใช่เพียงเครื่องออกซิเจน high flow O2 หรือที่อัดอากาศ ผ่านจมูก bipap
7.ใน รพ ประเมินบุคลากรจำนวน ผู้เชี่ยวชาญในการดูผู้ป่วยวิกฤติและทีม ทีมประกอบด้วยหมอดมยาพยาบาล หมอโรคไต หมอโรคหัวใจ ติดเชื้อ ผลัด ละ กี่คนต่อ 8 ชม.
8.สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจำนวนห้องและทีมไม่พอ ดังที่วางแผนตั้งแต่ข้อ 4 – 7 แยกโรงพยาบาลสนาม ไม่ติดเครื่องปรับอากาศให้อากาศถ่ายเทสะดวก แยกส่วน อาการน้อย กลาง ใช้ ออกซิเจน และ ที่อัดอากาศทางจมูก bipap ไม่สอดท่อหนัก แบบสอดท่อ และ ใช้เครื่องช่วยหายใจ portable แบบพกพา เคลื่อนย้ายได้ โดยวิธีทั้งหมดใน รพ สนามจะใช้บุคลากรชุดเดียวกันและสามารถครอบคลุมและประเมินผู้ป่วยอาการระดับต่างๆและสามารถมองไปข้างหน้าได้ว่าต้องเพิ่มโรงพยาบาลสนาม เป็นเท่าใด
9.ไม่ควรคิดทำโรงพยาบาลสนามให้เหมือนโรงพยาบาลเพราะความพร้อมไม่เท่าจีน ที่เสร็จใน 7 วัน หรือโดยทำเต๊นท์ความดันลบเพราะแต่ละเต๊นท์จะสามารถจุได้แปดถึง 15 คนเท่านั้นและยุ่งยากในการดูแต่ละเต้นท์
(ตามที่สมาคมธุรกิจ ไทย พม่า ออกแบบและ ส่งโรงพยาบาลสนามให้ประเทศพม่าเมื่อเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่รับมือผู้ป่วยจำนวนมากๆไม่ได้)
ทั้งนี้ รพ สนาม เปรียบเสมือนทำจากสวนสาธารณะ และรักษาผู้ป่วยอาการหนักสอดท่อได้โดยไม่ติดปัญหาเรื่องอาคารที่ใช้เครื่องปรับอากาศระบบเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการแพร่ทางอากาศ จากการปฎิบัติรักษาทางการแพทย์เกิดละอองฝอยติดเชื้อขนากเล็กมากแพร่ทางอากาศ
เครื่องช่วยหายใจแบบที่ไม่ต้องใช้ระบบออกซิเจนในโรงพยาบาลมีจำหน่าย แต่ต้องเลือกที่ไม่ราคาสูง เช่น ตัวละครึ่งล้าน แบบไอซียูเต็มสูตร ที่หมอทั่วไป จะปรับไม่เป็น ใน รพ สนาม ต้องใช้ที่ถูกใช้ ง่าย ต่อเข้ากับท่อที่สอดเข้าหลอดลมและปอด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :