นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ สมาคมสหพันธ์สวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากสถานการณ์ของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด “COVID-19” ที่เกิดขึ้นในรอบแรกของปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้เกิดสภาวะการหยุดชะงักงันของระบบเศรษฐกิจของประเทศในด้านการท่องเที่ยว การส่งออกที่เป็นรายได้หลักของประเทศ ทำให้ประชาชนเกิดผลกระทบต่อรายได้และอาชีพที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง เกิดผลพวงมาถึงปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโควิดในรอบที่3
ทำให้ภาคอุตสาหกรรมในส่วนโรงงานอุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิตไปผลิตต่างประเทศ เพื่อไม่ให้ถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้า GSP จึงทำให้คนไทยที่ทำงานภาคอุตสาหกรรมต้องตกงานประมาณ 10 ล้านคน จึงทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและลงลึกฐานรากของเศรษฐกิจของประเทศไทยที่พึ่งพิงภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอดและละเลยภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประเทศไทยตั้งแต่บรรพบุรุษได้ยึดเป็นอาชีพหลักมาโดยตลอด
“จากสถานการณ์ดังกล่าวของประเทศไทย ทำให้แรงงานในภาคท่องเที่ยว การขนส่งออกภาคอุตสาหกรรมบางสาวนกลับคืนสู่ท้องถิ่นชนบท เพื่อแสวงหาโอกาสการอยู่รอด และประกอบอาชีพซึ่งในอดีต แรงงานเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอาชีพจากชนบท เข้าสู่สังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ปรากฏการณ์จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเมืองไทยอีกครั้ง ทำให้ภาคเกษตรหวนกลับมาเป็นที่พึ่งในสถานการณ์ช่วงเวลานี้ ดังนั้นการพัฒนาภาคการเกษตรจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญในการหันกลับมาทบทวนโดยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาและการจัดสรรงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างแท้จริง โดยให้ความสำคัญมุ่งแก้ไขภาคการเกษตรทั้งระบบโดยแก้วิกฤติเศรษฐกิจให้เป็นโอกาส”
นายอุทัย กล่าวว่า สมาคมสหพันธ์สวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของเกษตร ที่จะเป็นรากฐานอันดีที่จะช่วยรักษาเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ให้เกิดผลกระทบ อีกทั้งการเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาของประเทศไปสู่เศรษฐกิจพื้นฐานเป็นเศรษฐกิจทางการเกษตร ให้ทันการปรับเปลี่ยนของสังคมเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน โดยการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนรากฐาน โดยการน้อมนำแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำโคกหนองนาโมเดล มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหลักของทฤษฏีการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ในแนวทางการพึ่งตนเอง ในโครงการฯดังต่อไปนี้
จากโครงการที่เสนอข้างต้นดังกล่าว มีความต้องการโครงการที่สนับสนุนจากรัฐบาล ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกษตรกรและแรงงานที่ตกงานกลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม และไม่มีงานทำ และไม่มีที่ดินทำกิน กลับไปทำอาชีพเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพเดิมของบรรพบุรุษ โดยรัฐบาลจะต้องสนับสนุนเครื่องมือปัจจัยการผลิตเบื้องต้น เช่น
นายอุทัย กล่าวว่า ก่อนหน้านั้นทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) ได้ยื่นหนังสือกราบเรียน ฯพณฯนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลในวันประชุมคณะกรรมนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 เพื่อของบโครงการสนับสนุน และสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนฐานรากจากวิกฤต COVID-19 รอบแรก ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบ 100,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบน้ำใน 75,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยมอบให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทยไปบริหารระบบน้ำ จนปัจจุบัน COVID -19 ได้กลับมาอีกในรอบที่ 3
ทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) จึงมีความเห็นว่าควรดำเนินการโครงการเพื่อแก้ปัญหาผู้ที่ตกงานและไม่มีงานทำ ได้กลับมาคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อเริ่มต้นการประกอบอาชีพทางสมาคมชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) ขอให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณและโครงการเพื่อสนับสนุนโครงการน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ในแนวทางพึ่งพาตนเอง เป็นโครงการนำร่องก่อน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีกินมีใช้แบบพึ่งตนเองอย่างพอเพียง
สำหรับแนวทางการดำเนินการ ให้รัฐบาลนำงบประมาณที่สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ที่ของบประมาณสนับสนุนชุมชนสร้างเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก จากวิกฤต COVID-19 จำนวน 100,000 ล้านบาท ที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เพื่อนำมาเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) โดยจัดหาระบบน้ำโครงการและรัฐบาลจัดสรรที่ดินจากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ตาม พรบ.ป่าไม้แห่งชาติ พรบ.อุทยาน พรบ.ป่าชุมชนแห่งชาติ พ.ศ. 2562 หรือที่ สปก. ที่ทหาร ที่ ว่างเปล่า โดยราชการครอบครอง มอบหมายให้กรมธนารักษ์จัดสรรที่ดินเป็นที่ดิน “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ผู้ตกงานกว่า 10 ล้านคนเช่าคนละ 2 ไร่ เพื่อทำการประกอบอาชีพ ตามที่ฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้กำหนดในสัญญาเช่า และรัฐให้ใช้งบประมาณจัดสรรการวางระบบน้ำ บ่อน้ำ และสปริงเกอร์ ให้ครบวงจรของพื้นที่การเกษตร ส่วนเงินทุนหมุนเวียนนั้นให้กู้จากธนาคารเพื่อการเกษตร โดยใช้บุคคลค้ำประกันกันเอง รายละ 300,000 บาท โดยรัฐบาลควรที่จะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3 ปี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
โดยเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่กลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อเริ่มต้นการประกอบอาชีพ ทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) จึงขอให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณและที่ดินของรัฐที่เป็นป่าเสื่อมโทรม เพื่อสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจพอเพียง “โคกหนองนาโมเดล” มาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในแนวทางพึ่งตนเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :