รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า
จุดแข็งของการมี covid 19 ?
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
โรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด ละอองฝอย พูด ไอ ที่ทำให้การรวมตัวชุมชนหนาแน่นเป็นเรื่องอันตราย จะได้รู้จักทำงานที่บ้าน เดินทางเท่าที่จำเป็น
ใช้เทคโนโลยีที่มีมากมายมหาศาลอยู่แล้วเอาไปใช้ประโยชน์เต็มที่ ดูผลงานเป็นหลักไม่ใช่มาเสนอหน้าที่ทำงาน
การดูแลผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยนอกก็ไม่ต้องนำผู้ป่วยใส่รถเข็นเตียงนอน นอน มาโรงพยาบาล ซึ่งต้องมีคนในครอบครัวมาอีกสองหรือสามคน เกิดสภาพที่เห็นคือ โรงพยาบาลแออัดติดเชื้อกันไปตามกันอีก ญาติคนป่วย มีวิดีโอคนป่วยมาให้ดู อาจจะมีผลวัดความดันหรือมีผลเลือดที่มีบริการมาทำให้ที่บ้าน นำผลมาให้ดู ถ้าจะพูดคุยกับผู้ป่วย จะใช้วิดีโอพูดคุยกันก็ได้
คนป่วยหนึ่งรายต้องหาหมอ 4 คน หมอสมอง หมอห้วใจ หมอเข่า หมอเบาหวาน และนัดมาคนละวัน การใช้ยา บางครั้ง ทำให้มากไปเกินจำเป็น จะได้รวม “รักษา คน” ไม่ใช่ดูตามโรค โรงพยาบาลจะได้ลดความแออัด แต่ผู้ป่วยหนักจำเป็นต้องมาโรงพยาบาลจะได้มีที่ขยับขยายได้มากขึ้น
สมัย “ซาร์ส” ระบาด ต้นกำเนิดของการค้าขายออนไลน์และการส่งสินค้ามาถึงบ้าน
หลังจากโควิด-19 (Covid-19) เราก็จะได้ หน้าตาใหม่ของการดูแลสุขภาพ การจัดระบบ ระเบียบ เพื่อให้คนป่วย สบาย ครอบครัวผู้ป่วยพอใจ จนกระทั่งมี AI มาแทน ในพื้นที่ ชุมชน มีการรักษาแบบ องค์รวม
ดูประเทศจีน ปรับตัว คิดนอกกรอบ เป็นตัวอย่าง
ประเทศไทย ยังมีเรื่องอื่นที่ทำได้อีกเยอะ ที่จะเป็น 4.0
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :