ความคืบหน้าการ“ฉีดวัคซีนโควิด” ล่าสุดแหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่านายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แจ้งแนวทางให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบปูพรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระบาดเริ่มพร้อมกัน เริ่มพร้อมกัน 7 มิ.ย. 2564
การฉีดวัคซีนโควิดแบบปูพรมทั้วประเทศครั้งนี้ มีเป้าหมายให้ทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ตามความสมัครใจครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากร โดยกำหนดให้มีช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีนวัคซีน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1.จองผ่านหมอพร้อม 2.นัดหมายผ่านสถานพยาบาลหรือ อสม.หรือผ่านองค์กร และ 3.ลงทะเบียน ณ จุดฉีด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ฐานเศรษฐกิจ" จึงนำ 7 แนวทางให้บริการวัคซีนโควิด 19 แบบปูพรมทั่วประเทศ ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ส่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัดมาให้เช็กกันอย่างละเอียด แบบม้วนจบ ดังนี้
1. เตรียมความพร้อมจุดให้บริการวัคซีนทั้งในและนอกโรงพยาบาล เช่น ศูนย์การค้า สนามกีฬา ศูนย์ประชุม โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยยึดหลักการป้องกันการแพร่เชื้อในจุดให้บริการ มีการสังเกตอาการหลังได้รับวัคซีน 30 นาที เตรียมอุปกรณ์กู้ชีพและรถพยาบาลพร้อมส่งโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับบริการ ดังนี้
3. กำหนดช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีน 3 ช่องทาง ดังนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร สามารถพิจารณาปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม
4. ช่องทาง “หมอพร้อม” ปัจจุบันเปิดให้จองสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจาตัว ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 จะเริ่มขยายการเปิดจองสำหรับการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งช่องทาง “หมอพร้อม” นี้มีแผนจะขยายเพื่อรองรับการจองรับวัคซีนของชาวต่างชาติในระยะถัดไป
5. ช่องทาง “นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) หรือ ผ่านองค์กร” การนัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม. ประชาชนสามารถติดต่อโดยตรงกับสถานพยาบาล หรือ อสม. เพื่อทำการนัดหมายฉีดวัคซีน
การนัดหมายผ่านองค์กร องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ที่มีความประสงค์จะขอรับวัคซีนให้กับบุคลากรสามารถแจ้งความประสงค์ไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (แจ้งหนังสือไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ( แจ้งหนังสือไปยังผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร) ดังนี้
6. ช่องทาง “ลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration)” สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทาการนัดหมายล่วงหน้า ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครกำหนดสถานพยาบาลในเขตรับผิดชอบที่จะให้บริการแบบลงทะเบียน ณ จุดฉีด (On-site Registration) ได้เองตามบริบทพื้นที่ ให้สามารถเปิดบริการได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ในกรณีที่จุดบริการใดมีความพร้อมสามารถเปิดให้บริการนำร่องก่อนได้
7. จัดระบบการให้บริการฉีดวัคซีนสาหรับกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ ดังนี้
กลุ่มคณะทูตานุทูตและองค์กรระหว่างประเทศ สามารถเข้ารับวัคซีนได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
กลุ่มชาวไทยที่จะขอรับวัคซีนก่อนไปศึกษาต่อ/ทำงานในต่างประเทศ สามารถเข้ารับวัคซีนได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
ประเภทผ่านองค์กร เช่น หน่วยงานผู้ให้ทุนการศึกษา สถานประกอบการ