รศ. พญ.เยาวนุช คงด่าน ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลนมะรักษ์ live สด (คุยขัดจังหวะ Interrupt) ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว (Youwanush Kongdan (รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน) ถึงกรณีการโพสต์ของโรงพยาบาลเรื่องการเลื่อนนัดฉีดวัคซีน และมีคนโทรมาให้ติดต่อกลับด่วนและลบโพสต์ ว่า การเลื่อนวัคซีนของโรงพยาบาลวันที่ 14-20 มิถุนายน 64 โดยมีประโยคสุดท้ายที่ระบุว่า ติดต่อรัฐมนรีกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอบถามสาเหตุของความไม่พร้อมของวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง ขอชี้แจงว่า เหตุผลที่โพสนั้น การโพสทั้งหมดของเพจ "นมะรักษ์" แอดมินหรือเจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หมอในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการ เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด แต่ทุกเรื่องมีที่มาที่ไป ซึ่งหากใครติดตามเฟสบุ๊กของหมอ จะเห็นว่าตอนต้นเดือน หลายอาทิตย์ก่อนมีการพูดคุยเรื่องวัคซีนอยู่แล้ว โดยต้องเรียนว่าการฉีดวัคซีนเหมือนการจองตั๋วคอนเสิร์ตในแง่ทรัพยากรที่มีจำกัด ทุกคนต้องการที่จะได้วัคซีน
ทั้งนี้ ในวาระการให้วัคซีนต้องถือเป็นวาระแห่งชาติ โดยทำอย่างไรให้ประเทศไทยพ้นหล่มจากตรงนี้ได้ ซึ่งหมอเห็นความยากลำบากของคนในกระทรวงสาธารณสุข ของสำนักงานอนามัยใน กทม. และโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาล ทั้งในส่วนที่รักษา และการฉีดวัคซีน โดยหากย้อนกลับไปวันที่ 1 พฤษภาคม 64 ที่มีการลงทะเบียน "หมอพร้อม" สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มโรคเสี่ยง 7 โรค จะเห็นความโกลาหลค่อนข้างมาก คือ ลงแล้วไม่ได้ ลงแล้วเด้งหาย หรือลงแล้วยากมาก จนกระทั่งกว่าจะแก้ระบบได้ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วันในการแก้ระบบ หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกเป็นระยะ เช่น ให้ประชาชนทั่วไปลง แต่ในระบบลงไม่ได้ หรือเมื่อผู้สูงอายุลงทะเบียนไปสักระยะ ก็บอกว่ามีการวอค์กอิน (Walk in) หรือไทยร่วมใจ (www.ไทยร่วมใจ.com) แต่ตรงนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องการสื่อสารครั้งนี้
อย่างไรก็ดี มองว่าเรื่องดังกล่าวเหล่านี้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ หากมีการสื่อสารที่ดี แต่ถามว่าวันที่รอคอยของหลายโรงพยาบาล ซึ่งรับหน้าเสื่อในการที่จะจัดคิวเพื่อฉีดวัคซีน รอที่จะรับการจัดสรรวัคซีน เมื่อประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนถึงวันฉีด ได้มีการประชุมผ่านระบบ ZOOM เพื่อเตรียมวามพร้อมของทุกโรงพยาบาล ซึ่งขณะนั้นมีการแจ้งว่ากระทรวงสาธารณสุขจะจัดสรรให้เฉพาะ 76 จังหวัด ยกเว้น กทม. หลังจากนั้นถึงมีข่าวจาก กทม. ว่า จะทำโครงการไทยร่วมใจ
"ในฐานะที่หมอเป็นประชาชนทั่วไปคนหนึ่ง เมื่อได้รับข่าวดังกล่าว ก็รู้สึกว่า แล้วการจัดสรรวัคซีนจะเป็นอย่างไร โดยต้องบอกว่าการสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญ จะต้องให้ความจริง ซึ่งสถานการณ์แบบนี้เชื่อว่าประชาชนรับได้ โดยเวลานั้นเราเองก็มีความสับสนกันระดับหนึ่ง แต่ในโรงพยาบาลเราก็ตั้งใจรอว่าจะอย่างไร ซึ่งความจริงจะมีการทำงานในไลน์กรุ๊ป (MOFIC) โดยจะมีบุคคลที่เกี่วข้องกับวัคซีนทั้งประเทศเข้าร่วม ขณะที่อีกกลุ่มก็คือ "BangkokVaccine" ซึ่งจะเป็นการสื่อสารจากสำนักงานอนามัย กทม. เพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลใน กทม. ว่าจะจัดสรรเท่าไหร่"
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่แล้ววันที่ 7 มิ.ย.64 ซึ่งเป็นวันฉีดวัคซีนวันแรก ต้องบอกว่าขอชื่นชมผู้ที่ใช้ชื่อ "คุณบอล" ในสำนักงานอนามัย กทม. ซึ่งเป็นผู้ที่จัดสรรวัคซีน โดยกระบวนการทำงานเท่าที่ตีความด้วยตนเอง ก็คือกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจะจัดสรรมาว่าให้ กทม. เท่าไหร่ แล้วสำนักงานอนามัยจะมีการตัดยอด เช่น จะมีการฉีดวันที่ 7 มิ.ย. 64 ประมาณวันศุกร์จะมีการตัดยอดแล้วว่ามีผู้อยู่ในระบบลงทะเบียนเท่าไหร่ ตามปกติจะไม่เคยเห็นหน่วยงานราชการทำงานเกินเวลาราชการ แต่รอบนี้ต้องให้ใจกับสำงานอนามัย กทม. โดยเราได้รับการจัดสรรวัคซีนจากสำนักงานอามัย กทม. ประมาณคืนวันศุกร์เกือบเที่ยงคืน ซึ่งเมื่อได้รับการจัดสรรมาเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปก็คือการเตรียมการเพื่อให้มีการฉีดวัคซีน โดยจะมีการจัดรรมาครั้งละ 1 สัปดาห์
เมื่อมาถึงของสัปดาห์ที่จะถึงวันจันทร์ล่าสุด วันศุกร์เริ่มได้ข่าวว่ายอดจัดสรรยังไม่ออก ทางสำนักงานอนามัย กทม.ชี้แจงว่ายังไม่ได้ตัวเลขมาว่าจะได้วัคซีนเท่าไหร่ แต่มีแนวน้มว่าอาจจะไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ได้รับข่าว ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เป็นไปในรูปแบบดังกล่าว ก็ต้องถือว่าแย่ เพราะมีเวลาแค่ 2 วันในการสื่อสารให้ประชาชนรับทราบ แต่ก็ยังรออย่างมีความหวัง โดยเข้าใจว่าในโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในกทม.ยังรอการจัดสรร แต่ก็ต้องมาฝันสลาย
"หากใครดูโพสเมื่อวันศุกร์ (11 มิ.ย. 64) หมอจะบอกว่าได้ข่าวมาอย่างไม่เป็นทางการว่าวัคซีนอาจจะไม่ได้ แต่ก็ยังหวังว่าจะมีปฏิหารย์สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเสี่ยงน่าจะได้ โดยยังคิดต่อในแง่ดีกว่าการผลิตในลอตแรกๆ ก็เหมือนการขึ้นไลน์ผลิตโรงงานใหม่ อาจมีขลุกขลักได้บ้าง เพราะเราก็เห็นว่าตัวเลข ม.33 ผู้ที่จะไปฉีดของประกันสังคมตามจุดต่างๆก็มีการเลื่อนเช่นเดียวกัน ซึ่งหากเป็นแบบดังกล่าว ก็พอเข้าใจได้ แต่เมื่อถึงวันเสาร์เราก็เห็นว่า มีการแจ้งเป็นทางการว่าไม่ได้แน่นอนสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง"
อย่างไรก็ตาม จะได้เห็นจากสื่อว่า กลุ่ม ม.33 เดิมที่จะแจ้งเลื่อนไปวันที่ 28 มิถุนายน 64 กลับมาวันที่ 14 มิถุนายนเหมือนกัน โดยหมอเชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามอยู่ในหัวว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็ไม่เป็นไรในฐานะที่โรงพยาบาลเราก็ต้องทำ เท่าที่ดูในไลน์ทุกคนต่างก็บอกว่า ต้องการให้ภาครัฐเป็นผู้ที่แถลงข่าวออกมาเป็นทางการว่า เกิดอะไรขึ้น เพราะที่ระบุว่าให้โรงพยาบาลแจ้งเลื่อนเอง โทรเลื่อนเอง ต้องเรียนว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการดำเนินการ เพราะเคยเจอภาวะแบบนี้หลายครั้ง โดยบางท่านที่ไม่เข้าใจ และมีอาการหงุดหงิดก็จะระบายกับผู้ที่รับโทรศัพท์ มีทั้งผู้ที่เห็นใจ และผู้ที่ไม่เข้าใจ และผู้ที่ด่าแบบสาดเสียเทเสียหลากหลายรูปแบบ
"ตอนที่ทำโปสเตอร์นั้น ต้องเรียยนว่าก็ไม่ไหวแล้ว เพราะเจอแบบนี้มาหลายรอบ โดยมีโปสเตอร์เวอร์ชั่นแรกว่า เราไม่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานอนามัย กทม. โดยไม่ได้อยู่ในอำนาจของโรงพยาบาลว่าจะให้ใครได้ หากมีข้อสงสัยในระบบหมอพร้อมก็จะมีคอลเซ็นเตอร์ 02-7922333 ให้โทรในระหว่างเวลา 09.00-22.00 น. เพราะทุกคำถามที่ประชาชนถามว่า จะได้วัคซีนเมื่อไหร่ หรือจะได้การจัดสรรคิวเมื่อใด ล้วนแล้วแต่เป็นคำตอบที่โรงพยาบาลไม่สามารถตอบได้"
อีกคำถามที่ยากยิ่งกว่า คือ ทำไมไม่ได้ แต่ทำไมบางจุด หรือบางจังหวัดได้ หรือบางแห่งที่ไม่ใช่พื้นที่เสี่ยงได้ หรือผู้ที่แข็งแรงกลับได้ โดยเป็นคำถามที่ต้องตอบเชิงนโยบาย จึงเป็นที่มาว่าให้ติดต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสอบถามสาเหตุความพร้อมของวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง
"ในมุมของหมอมองว่า ประเด็นดังกล่าว เป็นเชิงนโยบายที่ต้องมีนโยบายในการจัดสรรว่าจะจัดสรรไปให้ใครอย่างไร เมื่อประชาชนถามโรงพยาบาล เราก็ตอบไม่ได้จริงๆ เพราะในขณะที่การแถลงข่าวบอกว่าวัคซีนมีพอ จึงเป็นที่มาว่าหากอยากทราบประเด็นนี้ ต้องถามรัฐมนตรีสาธารณสุข ซึ่งหมอเองก็บอกกับพนักงานว่า หากประชาชนถามมาต้องถามกับรัฐมนตรีจริงๆว่าเหตุใดนโยบายการจัดสรรเป็นอย่างไร จึงเป็นที่มาของการโพสที่ถูกสั่งให้ลบข้อความดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาของโรงพยาบาล โดยหมอยอมรับว่าโรงพยาบาลอื่นอาจจะสุภาพกว่า ตัวหมอเองก็ยอมรับว่าอาจจะไม่สุภาพเลยที่พูดออกมาแบบนี้ แต่หมอก็ต้องเรียนว่าหมอตอบไม่ได้จริงๆ และหมอเองก็เจอสิ่งที่ไม่สุภาพกว่า และต้องทำการขอโทษที่โพสไปว่าให้ไปติดต่อรัฐมนตรี จริงๆเพียงแค่ต้องการให้ทราบความจริงว่านโยบายคืออย่างไร เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติ และยินดีที่จะรับทำ"
รศ. พญ.เยาวนุช กล่าวต่อไปอีกว่า เช้านี้ต้องเรียนว่าหมอเป็นคนตื่นสายประมาณ 09.00-10.00 น. เพราะทำโรงพยาบาลของตัวเอง ตื่นมาก็จะอาบน้ำแต่งตัว และลงไปตรวจ โดยเช้านี้ก่อน 07.00 น. หมอถูกปลุกด้วยไลน์ที่ลูกน้องส่งมาว่า เรียนแจ้งผู้บริหารในเวลลา 06.50 น. ตำแหน่งขออนุมัติการขอเปิดโรงพยาบาลเอกชน และด้วยสภาพที่ตื่นมาไม่เต็มที่ และยอมรับว่าหงุดหงิดที่ถูกปลุก ในความรู้สึกของเราคือเหตุใดต้องเป็นข้อความเป็นนี้ โดยที่ข้อความต่อไประบุว่า "ท่านรัฐมนตรีและอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพไม่พอใจและจะฟ้องเกี่ยวกับข้อความดังกล่าว ให้ลบข้อความเก่าและลงข้อความใหม่แบบถูกต้อง พร้อมขอโทษภายในเช้านี้ เวลาประมาณ 07.18 น. มีการโทรเข้ามาอีกเพื่อขอเบอร์ส่วนตัว โดยระบุว่ารัฐมนตรีจะคุยเอง พยาบาลผู้ป่วยในจึงแจ้งไปว่าไม่สามารถให้ได้ ซึ่งเวลา 08.10 น.ก็มีระบุอีกว่าต้องการให้โทรกลับก่อน 09.00 น. นี่คือสิ่งที่ได้ตอนเช้า ในความรู้สึกคือเรื่องนี้ไม่น่าจะต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่
หมอได้เรียนแจ้งนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ว่าเดี๋ยวจะมการสื่อสารทางไลน์ แต่ท่านอธิบดีไม่สะดวกพิม สะดวกทางเสียงมากกว่า จึงได้มีการโทรสื่อสารกัน และหมอเองก็มีข้อความที่เก็บไว้ เพราะต้องระมัดระวังตัวในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลเอกชน โดยต้องบอกว่าท่านธเรศคุยด้วยมิตราจิต มิตราใจ แบบพี่น้องเพื่อนแพทย์ อธิบายให้เข้าใจว่า ในความเป็นจริงไม่ใช่เรื่องที่จะไปฟ้อง หรือดำเนินการอะไร เพียงแต่ท่านรัฐมนตรีไม่สบายใจ เพราะเราเข้าใจผิด เนื่องจากกระบวนการไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรี หมอก็เลยชี้แจงถึงเจตนาไปว่า ไม่ได้ต้องการสิ่งใด เราเข้าใจว่าวัคซีนมีจำนวนจำกัด แต่เราต้องการความจริง ซึ่งเราในที่นี้จะหมายถึงประชาชนทั่วไปด้วย ทุกคนต้องกาความจริงว่าสรุปแล้ววัคซีนทั้งหมดมีเท่าไหร่ มีเกณฑ์อย่างไรในการจัดสรรไปพื้นที่ไหน เท่าไหร่ พื้นที่เสี่ยงเท่าไหร่ พื้นที่ไม่เสี่ยงเท่าไหร่ ต้องมีการชี้แจง
สัปดาห์หน้าเราไมได้รับวัคซีนเพราะเหตุผลอะไร เชื่อว่าประชาชนเข้าใจได้ ถึงเหตุผลที่ไม่ได้รับวัคซีน และจะได้รับเมื่อไหร่ และทางโรงพยาบาลก็ต้องนำข้อมูลไปชี้แจงกับประชาชนเมื่อถูกตั้งคำถามเข้ามา หากรัฐบบาล หรือรัฐมนตรีชี้แจงด้วยความจริง โดยการไม่ใช้อารมรณ์ ซึ่งต้องไม่คิดว่าเรื่องกังกล่าวเป็นอารมณ์ เพราะทุกคนมีอารมณ์ในการรักตัวกลัวตาย เราอุตสาห์ช่วยกันรณรงค์ในการฉีดวัคซีน ให้ชี้แจงความจริงออกมาเลย
"หมอยังบอกท่านธเรศต่อด้วยว่า รู้หรือไม่ว่าการที่ให้ลบโพสในโลกยุคนี้ หากใช้วิธีนี้กับประชาชน ผลลบจะอยู่กับท่าน เพราะออกไปหมดแล้ว การไปแก้จะได้ผลลบกับมาอีกแบบหนึ่ง บอกว่าขอแก้แบบนี้ได้ไหม เปลี่ยนเอาชื่อรัฐมนตรีออกหรือให้เปลี่ยนเป็นชื่อ ศบค. แต่เผอิญกราฟฟิกหมอไม่ได้มาทำงาน หมอเป็นคนไม่เก่งเรื่องคอมพิวเตอร์ หมอก็เอาภาพมาแล้วก็ครอปทับลงไปว่า เปลี่ยนจากรัฐมนตรีสาธารณสุขเป็น หรือติดต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของรัฐหรือผู้ใดที่เกี่ยวข้องที่จะต้องช่วยชี้แจง บล็อกตัวนี้หมอทำเอง และโพสไป"
ประเด็นนี้กระทรวงสาธารณสุขอาจมีความหวังดีว่าเราเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งหากฟังรัฐมนตรีอนุทินแถลงก็จะระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่กระจายวัคซีนให้ กทม. โดยกระจายไปแล้ว 5 แสนโดส กทม.จะไปกระจายอย่างไรไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ กทม. ต้องตอบว่า 5 แสนจะกระจายอย่างไร หมอก็อธิบายต่อว่า เหมือนเราอยู่ในบ้าน แล้วลูกอยากไปเที่ยว หรือได้โน่นนี่ แต่แม่ไม่ให้ ก็ต้องถามพ่อ เพราะฉะนั้นถามว่าแม่ทัพในการกำหนดนโยบายคือท่านรัฐมนตรีหรือไม่ เราก็ถามหากบอกว่าไม่ใช่ คือ ศบค. ก็ไม่เป็นไร ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้
"โดยเจตนาของโพสแรกที่ให้ถามรัฐมนตรีสาธารณสุข เพราะเป็นประเด็นที่ตอบไม่ได้จริงว่าทำไมการจัดสรร หรือนโยบายเป็นแบบนี้ ประเด็นนี้ควรจบเท่านี้"
รศ. พญ.เยาวนุช กล่าวปิดท้ายการ live สด ว่า หวังว่าหลังจากนี้ ขอวิงวอนเลยอยากให้รัฐบาลให้ความจริงกับประชาชน สื่อสารแบบตรงไปตรงไป มีวัคซีนก็บอกว่ามี มีไม่พอก็บอกว่าไม่พอ จะมาประมาณเมื่อไหร่ ประชาชนเข้าใจได้ หมอยังเป็นกำลังใจ โดยทราบดีว่าคนในกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้ปฏิบัติงานทำงานเหนื่อยหมด แต่ศึกครั้งนี้ไม่ได้ต้องการแค่นโยบายอย่างเดียว ต้องการการสื่อสารที่ชัดเจนฉับไว อย่าปล่อยให้ผู้ที่อยู่หน้างานเดียวดาย และต้องเผชิญปัญหาลำพัง ขอให้ช่วยสนับสนุน เพราะมีสื่ออยู่ในมือ หรือมีเครื่องมือในมือ ช่วยชี้แจงนำหน้าก่อน ในฐานะหน่วยงานสนับสนุน ยินดีสนับสนุนนโยบายของภาครัฐทุกอย่างในการนำพาให้ประเทศผ่านภัยวิกฤติโควิดครั้งนี้ไปได้
สำหรับประเด็นดังกล่าวนั้น มาจาการที่การที่ "วัคซีนโควิด" ไม่พอ ทำให้หลายโรงพยาบาลแจ้งเลื่อนฉีดวัคซีน โดยที่โรงพยาบาลนมะรักษ์ก็มีการออกประกาศพร้อมให้ประชาชนไปถามเหตุผลจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเอาเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :