ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์รับเงินจากมาตรการช่วยเหลือ "เยียวยาเกษตรกร" เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ที่ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. แต่มีบัญชีของธนาคารอื่นสามารถลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com ได้แล้ว
ผู้สื่อข่าวเข้าไปตรวจสอบที่เว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com ปรากฎว่าได้เปิดให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิรับเงินเยียวยา แต่ไม่มีบัญชีของธ.ก.ส.ลงทะเบียนได้แล้ว
เมื่อเข้าไปจะปรากฎข้อความว่า เว็บไซต์นี้ เป็นสื่อกลางสำหรับชาวเกษตรกรตรวจสอบสิทธิรายชื่อและข้อมูล ได้รับการพิจารณารับโอนเงินตามนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาล
โปรดเตรียมข้อมูล
1. หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
2. หมายเลขโทรศัพท์มือถือ
3. บัญชีเงินฝากธนาคาร
สำหรับเกษตรกรที่ได้สิทธิ์รับเงินเยียวที่ไม่มีบัญชีของธ.ก.ส. ให้คลิกที่แจ้งช่องทางรับโอนเงิน
เมื่อเข้าไปแล้วให้คลิกข้าพเจ้ายอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงฯ เสร็จแล้วกดถัดไป
จากนั้นให้กรอกหมายเลขบัตรประชาชน ในหน้านี้ คลิก
ธ.ก.ส.ระบุเงื่อนไขใช้ในการให้ข้อมูลเพื่อเตรียมการโอนเงินช่วยเหลือเกษตรกร ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น มิได้เป็นการยืนยัน สิทธิ ตามโครงการฯ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
www.เยียวยาเกษตรกร.com เปิดเช็กตรวจสอบผลการโอนเงิน 15 พ.ค.นี้
ธ.ก.ส.ไขข้อข้องใจ “รับเงินเยียวยาเกษตรกร” 15,000 บาท
สำหรับผู้ที่จะได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวเกษตกร จะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว และผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง โดยธ.ก.ส.จะเริ่มจ่ายเงินให้เกษตรกรตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมนี้
ส่วนขั้นตอนการจ่ายเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรที่มีบัญชีของธ.ก.ส. อยู่แล้วทาง ธ.ก.ส. จะรับข้อมูลผู้ขึ้นทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง
ขณะที่เกษตรกรที่ไม่มีบัญชีของธ.ก.ส. จะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com เพื่อแจ้งข้อมูลบัญชีธนาคารอื่นกับธ.ก.ส.ก่อน จากนั้นธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีที่แจ้งไว้
สำหรับการรับเงินเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 5,000 บาท 3 เดือน รวม 15,000 บาท ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและครอบครัว เป้าหมายไม่เกิน 10 ล้านราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 8.43 ล้านราย และกลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ไม่เกิน 1.57 ล้านราย
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)