อัปเดตสิทธิ์ลดหย่อนภาษี  นอกจาก "ช้อปดีมีคืน" แล้วมีอะไรบ้าง

27 ต.ค. 2563 | 05:15 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ธ.ค. 2563 | 09:58 น.

 

 

ช้อปดีมีคืน” มาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ ที่เปิดให้ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นำเอกสารหลักฐานการซื้อสินค้าและบริการตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2563 มาหักลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง รวมแล้วไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนเริ่มทำงานลดหย่อนภาษีดีเหมือนมีเงินเก็บ

กองทุนรวมใหม่ 2020 ลดหย่อนภาษีได้ กระจายการลงทุนเด็ด

 

นอกจากช้อปดีมีคืนแล้ว ยังมีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2563  สำหรับบรรดามนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ อีกหลายอย่าง เรามาอัพเดตดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ได้สิทธิ์ลดหย่อน 

 

 

อัปเดตสิทธิ์ลดหย่อนภาษี  นอกจาก \"ช้อปดีมีคืน\" แล้วมีอะไรบ้าง

 

 

ปี 2563 ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ ต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยและการจ้างงาน ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และส่งผลไปถึง "สิทธิ์ค่าลดหย่อนภาษีในปี 2563 " ที่จะต้องยื่นภาษีในปี 2564  มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยในหลายรายการ 


อาทิ เงินสมทบประกันสังคม  จากเดิมที่เคยสมทบสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี  แต่ในปีภาษี 2563 นำมาลดหย่อนสูงสุดที่ 5,850 บาท เนื่องจากมีการปรับลดอัตราการนำส่งถึง 2 รอบ คือในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. หัก 1%  และเดือน ก.ย. - พ.ย. หัก 2%  เพื่อลดภาระผู้ประกันตนในช่วงโควิด-19

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX ที่รัฐให้ลดหย่อนเพิ่มสูงสุด 200,000 บาท  สำหรับผู้ซื้อหน่วยลงทุน SSFX ในช่วง 1 เม.ย. - 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุด "ช้อปดีมีคืน" ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสูงสุดที่ 30,000 บาท

 

 

อัพเดตสิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2563 เพื่อยื่นภาษีปี 2464 

 

 

- กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
  
   
   

    1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

    2. คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี 60,000 บาท

    3.ค่าคลอดบุตรตามจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

    4.ค่าลดหย่อนบุตร ( เรียนอยู่และอายุไม่เกิน 25 ปี ) 30,000 บาท

      บุตร (คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ) คนละ  60,000 บาท

    5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา อายุ  60 ปีขึ้น ( ต่อคน ) 30,000 บาท 

    6. อุปการะผู้พิการ/ ทุพพลภาพ  60,000 บาท

 

 

- กลุ่มค่าลดหย่อนประกันและการลงทุน
 

 

 7.เงินสมทบประกันสังคมสูงสุดไม่เกิน  5,850 บาท  

 8. ประกันชีวิต / ประกันสุขภาพ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

 9. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
     * ( ข้อ 8 บวก 9  รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท )

10. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อ-แม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน  15,000 บาท

11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 

12. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

13.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท

14. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
    ( ข้อ 12 - 14  ตามที่จ่ายสูงสุดรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)

15.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 13,200 บาท

16.กองทุนรวมเพื่อการออม ( SSF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท 

17.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท

18. ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ ( SSFX )  200,000 บาท
(  ข้อ 11 - 17 รวมกันสูงสุดต้องไม่เกิน 500,000 บาท )  


 

- กลุ่มค่าลดหย่อน "อสังหาริมทรัพย์"

 

 

19.ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน100,000 บาท

20.โครงการบ้านหลังแรกปี 59 สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

 

 

- กลุ่มค่าลดหย่อน"บริจาค"

 

 

21.พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

22.มูลนิธิและองค์กรสาธารณะกุศล ตามจริง ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

23. การศึกษา/กีฬา/ โรงพยาบาลรัฐ/สังคมต่างๆ หักลดหย่อนได้  2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

 

 

- กลุ่มค่าลดหย่อน กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ฯ

 

24. ช้อปดีมีคืน  30,000 บาท

25. ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต (ธุรกิจที่มีเครื่องรูดบัตร ECD ) หักค่าลดหย่อนได้เพิ่ม 1 เท่าของที่จ่ายตามจริง



             

 

     

                               ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

   

        รายได้สุทธิต่อปี  (บาท)                                   อัตราภาษี

 

    ไม่เกิน 150,000                                          ได้รับการยกเว้นภาษี 

    150,001 - 300,000                                            5% 

     300,001-500,000                                            10% 

     500,001-750,000                                            15% 

    750,001-1,000,000                                           20% 

  1,000,001-2,000,000 บาท                                   25% 

  2,000,001-5,000,000 บาท                                   30%

     5,000,001 บาทขึ้นไป                                        35% 

 

 

https://www.blockdit.com/articles/5f9790f96bec410cc953d705/#