ล่าสุด สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้ตีความ สถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทย ภายใต้พระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ข้อสรุป ว่า "ธนาคารกรุงไทยฯ ถือเป็นรัฐวิสาหกิจทำธุรกิจกู้ยืมเงิน หนี้เงินกู้ของธนาคารกรุงไทยฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค่ำประกัน จะไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ตามบทนิยาม "หนี้สาธารณะ" ในมาตร 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม"
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ฯ ตีความว่า กรุงไทยบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่หน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจตาม (ก) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า ธนาคารกรุงไททยฯ เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมานว่าด้วยบริษัทจำกัดมหาชน โดยมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีสถานภาพเป็น "หน่วยงานรัฐ" ประเภทหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ถือหุ้นในจำนวนร้อยละ 55.07 ของทุนทั้งหมด ธนาคารกรุงไทยฯ จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 4 (ข) ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จากการตีความ จึงได้ข้อสรุป ว่า ธนาคารกรุงไทย ถือเป็นรัฐวิสาหกิจทำธุรกิจกู้ยืมเงิน หนี้เงินกู้ของธนาคารกรุงไทยฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค่ำประกัน จะไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ตามบทนิยาม "หนี้สาธารณะ" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม