วันนี้ (21 มิถุนายน 2563) ต้องไม่พลาดชม “สุริยุปราคา” ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติรอบปีมีเพียงครั้งเดียว โดย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. ระบุว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” เหนือฟ้าเมืองไทย ช่วงเวลาประมาณ 13:00 – 16:10 น. สังเกตได้ทั่วประเทศ
วันที่ 21 มิถุนายน 2563 ยังตรงกับ “วันครีษมายัน” (ครีด-สะ-มา-ยัน) (Summer Solstice) ซึ่งมาจากคำสันสกฤต คฺรีษฺม ที่แปลว่า จุดสุดทางเหนือ + อายน ที่แปลว่า การโคจร หรือ การมาถึง วันครีษมายัน จึงหมายถึง วันที่พระอาทิตย์โคจรจนไปถึงจุดหยุด คือ จุดสุดทางเหนือ นั่นคือ วันที่มีกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี โดยดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตก เฉียงไปทางเหนือมากที่สุด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไขรหัสวันที่ 21 มิถุนา ครีษมายัน เกี่ยวยังไงกับสโตนเฮนจ์
ชม "สุริยุปราคา" พรุ่งนี้ 21 มิ.ย. ในวัน “ครีษมายัน” กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
ชม "สุริยุปราคา" 21 มิ.ย. ในวัน “ครีษมายัน” กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
สำหรับประเทศไทยในวันนี้ ( 21 มิถุนายน 2563) ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. และจะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18:47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานถึง 12 ชั่วโมง 56 นาที ขณะที่ประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุด นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ระบุว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 จะเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาวงแหวน" แนวคราสวงแหวนพาดผ่านสาธารณรัฐอัฟริกากลาง คองโก เอธิโอเปีย ตอนใต้ของปากีสถาน ตอนเหนือของอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ขณะที่ประเทศไทยจะเห็นเป็น "สุริยุปราคาบางส่วน" ดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง สังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทยแต่ในแต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากน้อยแตกต่างกัน
คำเตือนสำหรับผู้สนใจชมปรากฏการณ์ สุริยุปราคา