วันที่ 30 สิงหาคม 2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...
โควิด 19
การระบาด ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา
มีการระบาดอย่างมาก เริ่มจากเมืองที่ติดต่อกับบังคลาเทศ เมืองสิตตะเว ในรัฐยะไข่
มีแนวโน้มที่จะกระจายไปยังเมืองอื่น โดยเฉพาะเมืองตามชายทะเล
ในเวลา 1 สัปดาห์ ยอดผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว
สิ่งที่สำคัญคือ พรมแดนธรรมชาติ ที่ติดต่ออันยาวไกล มีการเคลื่อนย้ายของประชากร อาจจะเหนือความควบคุม
ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดในประเทศไทยได้
ประกอบกับฤดูกาลนี้ เป็นฤดูกาลที่มีโรคทางเดินหายใจชุกชุม
ข่าวเกี่ยวข้อง
“เมียนมา”พบผู้ติดเชื้อโควิดวันเดียวพุ่ง 90 คน
"หมอจุฬา" ชี้วิจัยพบไวรัสในลมหายใจผู้ติดเชื้อโควิด
เอาจริง ! อินเดีย จ่อขึ้นบัญชี "ห้ามบิน" ผู้โดยสารไม่สวมหน้ากากอนามัย
วิจัยชี้เด็กป่วยโควิดใช้เวลาขับเชื้อนานหลายสัปดาห์ แม้ไม่แสดงอาการ
ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อยับยั้งการระบาดเป็นเรื่องสำคัญมาก
มีค่าใช้จ่ายสูง การตรวจที่ดีที่สุดคือการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส จะมีความไวสูงสุด
สำหรับประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มอัตราการตรวจ โดยเฉพาะในแรงงานต่างด้าว
บุคคลที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การนำไปไว้รวมกัน ก็สุ่มเสี่ยงต่อการระบาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะสภาพแวดล้อม จะเอื้ออำนวยให้เกิดการระบาด
สิ่งที่ถูกต้องจะต้องทำแบบ State quarantine สำหรับผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก่อนที่จะส่งกลับ จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจำนวนมาก
นับแต่นี้ต่อไป การตรวจวินิจฉัยเชิงรุก ในประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องทำเพิ่มขึ้น ขีดความสามารถในการตรวจของประเทศไทย มีสูงมาก
เพราะขณะนี้มีห้องปฏิบัติการที่ตรวจพันธุกรรมของไวรัสได้ประมาณ 250 แห่ง ปัญหาจึงอยู่ว่าใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
ประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศ
การนำเข้าแรงงาน ถ้ามีการ quarantine ก็จะมีค่าใช้จ่าย จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ให้แรงงานต่างๆลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
การระบาดในสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่ผ่านมา ก็เกิดจากแรงงานต่างประเทศ
เรามีบทเรียนจากสิงคโปร์และมาเลเซีย น่าจะนำมาใช้ในการป้องกัน ไม่ให้เกิดการระบาดเกินการควบคุมของประเทศไทย
ยง ภู่วรวรรณ
30 สิงหาคม 2563