12 ต.ค.63 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ และพัฒนานวัตกรรมในการกํากับดูแล และพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อร่วมมือกันในการศึกษา พัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการกำกับดูแลและพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ณ ท่าเทียบเรือกรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่า เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GISTDA เดินหน้า พ.ร.บ. กิจการอวกาศไทย
พิษ"พายุโนอึล" ไทยน้ำท่วม 245,479 ไร่
“GISTDA”เปิดภาพดาวเทียมสแกนน้ำท่วมเสียหาย 125,000 ไร่
GISTDA เปิดภาพดาวเทียมบางส่วน (สีฟ้า) พื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดน่าน
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่ GISTDA และกรมเจ้าท่าจะมีความร่วมมือกัน โดยได้นำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการบริหารจัดการขยะและมลพิษทางน้ำ ด้านการบริหารการกัดเซาะชายฝั่ง ด้านการกำกับดูแลการรุกล้ำลำน้ำ ด้านการบริการจัดการผักตบชวา เป็นต้น ซึ่งทั้งสองหน่วยงาน เห็นตรงกันว่าภารกิจดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมภารกิจทางด้านการกำกับและดูแลระบบขนส่งทางน้ำ และสร้างทักษะองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของการทำงาน และเล็งเห็นถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ยั่งยืน ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้กับประเทศ
“ในบันทุกข้อตกลงความร่วมมือนี้ นอกจาก GISTDA จะสนับสนุนข้อมูลจากดาวเทียม ภูมิสารสนเทศ และบุคลากรร่วมกันแล้ว เรายังมุ่งเน้นการผลักดัน ขับเคลื่อน และร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ทั้งสองหน่วยงานเกิดการทำงานร่วมกันมากขึ้น” ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าว
ด้าน นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรมเจ้าท่า มีภารกิจกี่ยวกับการกํากับดูแล การส่งเสริม การพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อกับระบการขนส่งอื่น ๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทยและกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็งซึ่งการลงนามร่วมกันในครั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาบูรณาการร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจ พร้อมทั้งจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ ส่งเสริมองค์ความรู้ตลอดจนทักษะทางด้านการบริหารจัดการน่านน้ำ ได้อย่างเหมาะสม ควบคู่กับการยกระดับความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ของประเทศไทยต่อไป