วันที่ 23 พ.ย. 63 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานแจ้งข่าว แจ้งเตือนสาธารณภัย ประจําวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08.00 น.
แจ้งข่าว พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง โดยมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง บริเวณ
- ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นราธิวาส ระนอง และพังงา
การคาดการณ์สาธารณภัยในระยะ 1 - 3 วัน
- เฝ้าระวัง วันที่ 24-26 พ.ย.63 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกําลังปานกลาง ทําให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ ซึ่งอาจทําให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย
สถานการณ์อุทกภัย
- เนื่องจากเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ ยังระบายน้ำและน้ำท่ามีระดับสูง ทําให้ยังคงมีสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
สถานการณ์คุณภาพอากาศ ค่า PM2.5
- เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกําลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับ มีฝนฟ้าคะนองในช่วงแรก ทําให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันมีแนวโน้มลดลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พยากรณ์อากาศวันนี้ อีสานตอนบนอากาศเย็นลง ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนัก
เช็กด่วน เรดาร์ตรวจพบกลุ่มฝน ปกคลุม กทม.-ปริมณฑล
เตือน 10 จังหวัดภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก
แจ้งข่าว
- วันที่ 24-26 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงกําลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทําให้มีฝนในช่วงแรก และอุณหภูมิ จะลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
สถานการณ์ทั่วไป
- บริเวณความกดอากาศสูงกําลังค่อนข้างแรงได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และทะเลจีนใต้แล้ว ทําให้ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดนําความชื่นเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทําให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลางมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง บางพื้นที่
ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกําลังแรงขึ้นทําให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สําหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
เขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
- ที่มีปริมาตรกักเก็บสูงสุดมากกว่าความจุและยังมีการระบายน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา เขื่อนลําตะคอง ลําพระเพลิง มูลบน และภาคกลาง จ.ระยอง อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.นครนายก เขื่อนขุนด่านปราการชล (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 22 พ.ย. 63)
การแจ้งเตือนสาธารณภัย และข้อแนะนํา
- เฝ้าระวัง พื้นที่เสี่ยงและเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา (อ.ปากช่อง ปักธงชัย พิมาย ชุมพวง) ภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี (อ.สองพี่น้อง บางปลาม้า) จ.สงขลา (อ.หาดใหญ่) (ข้อมูลจากศูนย์นิรภัย ศอ. ณ วันที่ 23 พ.ย. 63)
พื้นที่เสี่ยงและเฝ้าระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
- ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ พรหมคีรี ลานสกา ฉวาง พิปูน ชะอวด ท่าศาลา ทุ่งสง นาบอน ทุ่งใหญ่ ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ สิชล ขนอม ถ้ําพรรณรา จุฬาภรณ์ พระพรหม นบพิตํา ช้างกลาง เฉลิมพระเกียรติ) จ.พัทลุง (อ.ตะโหมด ควนขนุน ป่าบอน ป่าพยอม) จ.สงขลา (อ.เมืองฯ จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย รัตนภูมิ สะเดา หาดใหญ่ นาหม่อม ควนเนียง บางกล่ํา สิงหนคร คลองหอยโข่ง) จ.ยะลา (อ.เบตง บันนังสตา ธารโต ยะหา กาบัง)
จ.ภูเก็ต (อ.เมืองฯ กะทู้ ถลาง) จ.กระบี่ (อ.เมืองฯ อ่าวลึก ปลายพระยา เหนือคลอง) จ.ตรัง (อ.กันตัง ย่านตาขาว ปะเหลียน สิเกา ห้วยยอด) และ จ.สตูล (อ.เมืองฯ ควนโดน ควนกาหลง ท่าแพ ละงู ทุ่งหว้า มะนัง)
พื้นที่เสี่ยงและเฝ้าระวังอากาศหนาวจัด
- ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง) (ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ณ วันที่ 23 พ.ย.63 เวลา 05.00 น.)
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะ พื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ํา พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ส่วนสถานการณ์การระบายน้ำ การพร่องน้ำจากเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ ให้เฝ้าระวังพื้นที่ริมลําน้ำอาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้ารวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง พื้นที่อากาศหนาว/หนาวจัด ขอให้ดูแลสุขภาพทําให้ ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น
ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผน เผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยเช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจําหมู่บ้าน เป็นต้น